ทำผู้หญิงท้องแล้วไม่รับผิดชอบ ทำอะไรได้บ้าง

Last updated: 24 มิ.ย. 2566  |  5655 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำผู้หญิงท้องแล้วไม่รับผิดชอบ ทำอะไรได้บ้าง

              ทำผู้หญิงท้องแล้วไม่รับผิดชอบ ทำอะไรได้บ้าง

              การที่ฝ่ายชายมีเพศสัมพันธ์กับฝ่ายหญิง จนฝ่ายหญิงนั้นตั้งครรภ์นั้น หากฝ่ายชายไม่รับผิดชอบและทิ้งฝ่ายหญิงไป ฝ่ายหญิงที่ตั้งท้องจะทำอะไรได้บ้าง ซึ่งตามกฎหมายไม่สามารถจะบังคับให้ฝ่ายชายมาจัดพิธีสมรสหรือบังคับให้จดทะเบียนสมรสได้และรับฝ่ายหญิงเป็นภริยาได้ หากฝ่ายชายนั้นไม่ยินยอมที่จะกระทำเพราะถือเป็นสิทธิเสรีภาพ โดยฝ่ายหญิงหากคลอดบุตรออกมาแล้ว สิ่งที่ทำได้คือมีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายชายรับรองบุตรตามกฎหมาย และเรียกค่าเลี้ยงดุบุตรเป็นรายเดือนจนกว่าบุตรจะมีบรรลุนิติภาวะหรือเรียนจบในชั้นปริญญาตรีได้ โดยกรณีที่ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบนี้ ย่อมไม่มีทางที่จะมีหลักฐานว่าฝ่ายชายเป็นผู้แจ้งเกิด ยินยอมให้บุตรใช้นามสกุล หรือยินยอมให้บุตรอยู่ในทะเบียนของฝ่ายชาย อย่างแน่นอนที่จะนำไปแสดงต่อศาลเพื่อให้ศาลเชื่อว่าเป็นบุตรของฝ่ายชายจริงๆ

             แต่อย่างไรก็ตามในการตรวจพิสูจน์ความเป็นบิดาและบุตรนั้นก็สามารถกระทำได้ด้วยการตรวจ DNA โดยสามารถทำคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ฝ่ายชายตรวจ DNA ได้ หลังจากดำเนินการยื่นฟ้องไปเรียบร้อยแล้ว และการทำเรื่องฟ้องก็จำเป็นที่จะต้องมีทนายความทำเรื่องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ด้วย หากปรากฎว่าเป็นบุตรของฝ่ายชายจริงๆ ฝ่ายชายก็มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นรายเดือนให้แก่ฝ่ายหญิง

            ซึ่งกรณีดังที่กล่าวมานั้นเป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงมีเพศสัมพันธ์เมื่อมีอายุเกิน 18 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไปเรียบร้อยแล้ว แต่หากฝ่ายหญิงมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูณณ์ ก็อาจเข้าข่ายข้อหาพรากผู้เยาว์ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาได้ โดยบิดาของมารดาของผู้เยาว์มีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลหรือร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับฝ่ายชายได้ ซึ่งมีอัตราโทษดังต่อนี้

           มาตรา 317 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

          ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น

          ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

          มาตรา 318 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสีย จากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท

          ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น

          ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

         สรุปก็คือ หากพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี มีโทษจำคุก 3 – 15 ปี ปรับ 6 หมื่น – 3แสนบาท หากพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่ถึง 18 มีโทษจำคุก 2 – 10 ปี ปรับ 4 หมื่น – 2 แสนบาท

       หากคุณต้องการที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูกับฝ่ายชาย และต้องการจะฟ้องร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว สามารถติดต่อช่องทางการติดต่อด้านล่างได้เลยครับ สำนักงานทนายความของเราพร้อมและยินดีจะช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่

 

 



ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้