8 แนวทางขอเจรจาหนี้และปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินหรือธนาคาร

Last updated: 6 มี.ค. 2566  |  2787 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 8 แนวทางขอเจรจาหนี้และปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินหรือธนาคาร

 8 แนวทางขอเจรจาหนี้และปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินหรือธนาคาร



          เมื่อท่านมีหนี้กับสถาบันการเงินหรือธนาคาร และเริ่มจะชำระไม่ไหว หรือผิดนัดชำระหนี้เรียบร้อยแล้ว หรือแม้กระทั้งถูกธนาคารฟ้องเป็นคดีต่อศาลเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ยังมีสิทธิที่จะขอเจรจากับสถาบันการเงินได้ หรือแม้ว่าจะมีคำพิพากษาแล้วและคดีของท่านอยู่ในระหว่างบังคับขายทอดตลาดก็ตาม แต่การจะเจรจาหนี้ได้หรือไม่ หรือเงื่อนที่ได้รับจะดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย อาทิเช่น  ทรัพย์สินของท่านว่ามีมากน้อยแค่ไหนที่จะให้ธนาคารดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ได้ มีหลักฐานค้ำประกันหรือไม่ มีผู้ค้ำประกันหรือไม่ หนี้ของท่านอยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว ยิ่งใกล้ขึ้นตอนบังคับคดีขายทอดตลาดท่านยิ่งมีอำนาจต่อรองน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อท่านมีปัญหาในเรื่องการเจรจาหนี้ว่าควรเจรจาแบบไหนอย่างไร สามารถปรึกษากับทางสำนักงานของเราได้ รายละเอียดตามบทความ >> รับเจรจาหนี้กับสถาบันการเงิน <<  ส่วน 8 แนวทางในการเจรจาหนี้กับสถานบันการเงินเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้มีอะไรบ้าง ทางสำนักงานกฎหมายหรือสำนักงานทนายความของเราจะมาบอกกันให้ทราบ และท่านสามารถนำไปปรับใช้กับหนี้ของท่านได้

           แนวทางที่ 1 : ขอพักชำระหนี้เงินต้น

           การขอพักชำระหนี้เงินต้น เป็นการลดภาระในการผ่อนชำระหนี้ลงเป็นการชั่วคราว และชำระเพียงดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินเท่านั้น อาทิเช่น จากเดิมผ่อนเดือนละ 5,000 บาท เหลือเพียงชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้ท่านมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น โดยอาจขอพักชำระหนี้เงินต้นไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งก็ต้องไปตามความยินยอมของสถาบันการเงินด้วยว่าจะยินยอมตามวิธีนี้หรือไม่ หรือแบบใด

           แนวทางที่ 2 : ขอลดอัตราดอกเบี้ย

           การขอลดอัตราดอกเบี้ย เป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ลูกหนี้เป็นอย่างมากเพราะทำให้หนี้ที่ต้องชำระลดลง และยังทำให้ภาระหนี้จบเร็วยิ่งขึ้น ยิ่งดอกเบี้ยต่ำภาระของหนี้ก็ยิ่งต่ำเช่นเดียวกัน ซึ่งการเจรจาขอลดดอกเบี้ยนั้นมีโอกาสที่สถาบันการเงินจะยินยอมค่อนข้างสูง โดยอาจกำหนดเป็นดอกเบี้ยคงที่ เช่น ดอกเบี้ยร้อยละ 3.5 ต่อปี หรืออาจจะกำหนดเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็ได้ เช่น MRR-2% เป็นต้น

           แนวทางที่ 3 : ขอปิดจบหนี้โดยจ่ายเป็นเงินก้อน

           การขอปิดจบหนี้สามารถกระทำได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเภทหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อธุจกิจ ซึ่งการจะได้รับเงื่อนไขจากธนาคารหรือสถาบันการเงินในวิธีนี้ส่วนใหญ่จะต้องเป็นลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในเกณฑ์ที่จะถูกขายหนี้ไปให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือเข้าข่ายที่จะถูกฟ้อง ซึ่งการปิดจบหนี้แบบเงินก้อน หากลูกหนี้มีเงินก้อนที่จะปิดหนี้ ตามที่ธนาคารได้เสนอข้อเสนอมา เช่น มูลหนี้เงินต้น 1 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3 แสนบาท แต่ธนาคารให้ปิดจบหนี้ใน 60% ของยอดเงินต้น ดอกเบี้ยไม่คิด เป็นต้น โดยลูกหนี้จะต้องมีเงินก้อนตามที่ธนาคารเสนอมา หรืออาจขอผ่อนชำระแบบ 3 – 4 ในยอดที่ขอปิดจบก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเจรจาและความยินยอมของธนาคารอีกที แต่การขอปิดจบหนี้ไม่สามารถใช้ได้ทุกธนาคารเพราะบางธนาคารก็ไม่มีนโยบายปิดจบหนี้ด้วยเงินก้อน หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Haircut

           แนวทางที่ 4 : ขอตีทรัพย์ชำระหนี้

           การขอขอตีทรัพย์ชำระหนี้ สามารถกระทำได้ หากลูกหนี้มีทรัพย์สินหรือทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์ที่ค้ำประกันหนี้ไว้โดยจดจำนองไว้ ซึ่งทรัพย์สินควรมีมูลค่าที่พอๆกับมูลหนี้ หรืออาจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ หากสถาบันการเงินยินยอมให้ตีทรัพย์ชำระหนี้เพื่อปลดหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ตัวอย่างเช่น มีที่ดิน มูลค่า 2 ล้าน กับหนี้กับธนาคาร 2.1 ล้าน เมื่อธนาคารยอมให้ตีทรัพย์ชำระหนี้และให้ถือว่าปิดหนี้ ภาระหนี้ของลูกหนี้ก็จะหมด

           แนวทางที่ 5 : ขอพักหรือไม่คิดดอกเบี้ย

           การขอพักหรือไม่คิดดอกเบี้ย หากสถาบันการเงินยิมยอมก็ช่วยลูกหนี้ให้มีสภาพคล่องเป็นอย่างมาก เพราะดอกเบี้ยยิ่งมีระยะเวลาผ่อนนานเท่าไหร่ จำนวนเงินที่ต้องชำระดอกเบี้ยก็จะยิ่งสูงมาก และหากเป็นหนี้จำพวกสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรกดเงินสด ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่สูง เช่น ปีละ 25 ต่อปี หากท่านผิดนัดและไม่ชำระหนี้ต่อ ระยะเวลาเพียง 4 ปี ดอกเบี้ยก็จะเท่ากับยอดเงินต้นทันที อัตราดอกเบี้ยจึงสำคัญกับการชำระหนี้

           แนวทางที่ 6 : ขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้

           การขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลูกหนี้ในการเสริมสภาพคล่อง เพื่อให้มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ต่อไปได้ ซึ่งบางเวลาหรือในบางช่วงลูกหนี้อาจประสบปัญหาทางด้านการเงิน ขาดรายได้ หรือตกงาน ไม่มีความสามารถในการจ่ายหนี้เท่าเดิมได้ การขยายระยะเวลาการชำระหนี้จะทำให้ภาระในผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนลดน้อยลง เช่นจากเดิมเคยผ่อนเดือนละ 10000 บาท ต่อปี ระยะเวลาการผ่อน 20 ปี เปลี่ยนเป็นขยายระยะเวลาเป็น 30 ปี ผ่อนเดือนละ 6,000 บาท เป็นต้น

           แนวทางที่ 7 : ขอเปลี่ยนประเภทหนี้

           การขอเปลี่ยนประเภทหนี้ จะมีผลในเรื่องของดอกเบี้ยเป็นหลัก ซึ่งหนี้แต่ละประเภทจะมีฐานของอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากัน อย่างเช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรกดเงินสด สินเชื่อเงินกู้ด่วน ที่จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูง เป็นต้น หากมีการเปลี่ยนประเภทหนี้ที่มีภาระของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำก็จะช่วยลูกหนี้ในการเสริมสภาพคล่องได้อีกวิธีหนึ่ง

             แนวทางที่ 8 : ขอเพิ่มเงินหมุนเวียน

            ขอเพิ่มเงินหมุนเวียนส่วนใหญ่จะใช้สำหรับธุรกิจหรือที่เรียกว่าสินเชื่อธุรกิจที่ในบางครั้งธุรกิจขาดสภาพคล่องในการชำระหนี้ หรือการดำเนินงานของกิจการ ก็สามารถขอเจรจาเพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่ลูกหนี้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องเพื่อนำไปบริหารจัดการให้มีรายได้หรือกำไรมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถผ่อนชำระหนี้ได้

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

แฟนเพจ : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

 



 

          

 

        

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้