ภาษีบุคคลธรรมดา - ทนายนิธิพล

Last updated: 6 ส.ค. 2565  |  1040 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาษีบุคคลธรรมดา - ทนายนิธิพล

          บุคคลที่มีรายได้ตามที่รัฐกำหนดจะต้องเสียภาษีนิติบุคคลธรรมดา โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดาได้แก่ 1.บุคคลธรรมดา 2.ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล 3.ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 4.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง 5.วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สำหรับเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท ต่อปีขึ้นไปเท่านั้น จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา

          โดยการคำนวณภาษี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

             1.) การคิดอัตราภาษีแบบขั้นบันได มีวิธีคิดดังนี้

               - เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท = ได้รับการยกเว้นภาษี

               - เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)
                  วิธีคำนวณ ภาษี = (เงินได้สุทธิ – 150,000) x5%

               - เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)

                  วิธีคำนวณ ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500

               - เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)

                  วิธีคำนวณ ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500

               - เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%)

                  วิธีคำนวณ ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000

               - เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%)

                  วิธีคำนวณ ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000

               - เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%)

                  วิธีคำนวณ ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] + 365,000

               - เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%)

                  วิธีคำนวณ ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] + 1,265,000

             2.) การคิดอัตราภาษีแบบเหมา มีวิธีคิดดังนี้

             แบบเหมานั้นที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีคิดแบบเหมา คือแม้ว่าจะมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน หากรายได้จากทางอื่นทั้งหมดมีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน

             วิธีการคำนวณคือ ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005 ซึ่งวิธีนี้จะคำนวณจากรายได้ทางอื่นๆทุกทางยกเว้นเงินเดือน และหากคำนวณด้วยวิธีคิดแบบเหมาแล้ว มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้

             3.) การคิดอัตราภาษีแบบเปรียบเทียบและสรุป มีวิธีคิดดังนี้

             วิธีนี้เป็นการคิดอัตราภาษี โดยเอาอัตราภาษีแบบขั้นบันไดและอัตราภาษีแบบเหมามาคำนวน โดยเอาเงินได้สุทธิมาคำนวนตามที่กำหนด และได้ภาษีจากอัตราภาษีแบบใดที่มากกว่า ก็ต้องใช้วิธีนั้นในการจ่ายภาษีให้แก่รัฐ

             การคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาคือ (รายได้ – รายจ่าย – ลดหย่อน) = เงินได้สุทธิ แต่การเสียภาษีทุกคนจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ รัฐจึงต้องการช่วยให้ประชาชนจ่ายภาษีน้อยลง จึงมีการหักค่าลดหย่อนก่อนเสียภาษี โดยการนำเงินได้มาหักค่าลดหย่อนออกตามที่รัฐกำหนดว่าบุคคลใดบ้างและภาระหน้าที่สามารถลดหย่อนได้มากน้อยแค่ไหน โดยรัฐได้แบ่งค่าลดหย่อนออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆคือ

             1. ค่าลดหย่อนพื้นฐาน

               - ลดหย่อนผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

               - ลดหย่อนคู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 30,000 บาท

               - ลดหย่อนบุตร เกิดตั้งแต่ปี 61 ได้ลดหย่อน 60,000 บาท แต่ถ้าหลังจากปี 61 ได้ 30,000 บาท

               - ค่าฝากครรภ์หรือค่าคลอดบุตร คนละ 60,000 บาท ไม่เกินอายุ 25 ปี

               - ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท

               - ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภา คนละ 30,000 บาท

             2. ค่าลดหย่อนหรือยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน

               - เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

               - เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน

               - เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

               - เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

               - เบี้ยประกันชีวิต

               - เบี้ยประกันสุขภาพ

               - เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

               - เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

               - ค่าซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF

               - ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF

               - ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย

             3. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายภาครัฐ

               - ค่าลดหย่อนพิเศษในปีภาษี เช่น บ้านหลังแรก ท่องเที่ยวเมืองรอง ชอปช่วยชาติ

               - เงินลงทุนธุรกิจ Startup

               - ค่าซื้อและค่าติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

               - ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต

             4. ค่าลดหย่อนเพื่อบริจาค

               - เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา

              - เงินบริจาคสาธารณประโยชน์

              - เงินบริจาคทั่วไป

              - เงินบริจาคพรรคการเมือง

 

          ตัวอย่างคำพิพากษา

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2561

          ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ฉ วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่เงินได้พึงประเมินไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง เว้นแต่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) สามีและภริยาจะแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของสามีและภริยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง” โจทก์กับ จ. ขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสินสมรส มีราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นเงิน 546,000 บาท อันเป็นเงินได้จากการขายสินสมรสนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน ทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสก็ถือว่าต่างฝ่ายมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งเช่นกัน เมื่อโจทก์กับ จ. ไม่ได้มีสัญญาตกลงกันไว้เป็นอื่นในเรื่องการจัดการสินสมรส ก็ถือว่าโจทก์กับ จ. มีเงินได้คนละกึ่งหนึ่ง กรณีไม่ใช่เป็นเงินได้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ชัดแจ้งว่าเป็นของสามีและภริยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57 ฉ วรรคสอง โจทก์กับ จ. จะแบ่งเงินได้พึงประเมินของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันตามมาตรา 57 ฉ วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่าโจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์จำนวน 414,960 บาท ส่วน จ. มีเงินได้จำนวน 131,040 บาท จึงไม่ถูกต้อง

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12753/2558

          โจทก์ได้รับเงินเพราะเหตุออกจากงาน 2 ประเภท ประเภทที่ 1 เป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ประเภทที่ 2 เป็นเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากนายจ้างของโจทก์ จึงไม่ใช่กรณีที่นายจ้างของโจทก์เป็นผู้จ่าย เงินชดเชยการเลิกจ้างกับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ใช่ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินรายเดียวกัน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) ข้อ 2 (ข) เมื่อโจทก์ได้รับเงินที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีภาษี 2553 ซึ่งเป็นคนละปีภาษีกับที่โจทก์ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้าง โจทก์จึงชอบที่จะนำเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ได้รับในปีภาษี 2553 มาเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48 (5) ได้

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549

          ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายมีเงินได้ที่โจทก์ได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตาม 40 (6) หามีบทบัญญัติว่าการประกอบอาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกับวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมาย

 

ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

รับว่าความทุกคดี ทั่วราชอาณาจักรไทย

Facebook Fan Page :: ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

เปิดทำการ :: วันจันทร์ – วันเสาร์

เวลาทำการ :: 09:00 - 18:00 น.

เบอร์ติดต่อ (โทรเวลาทำการ) :: 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้