Last updated: 27 ต.ค. 2564 | 16105 จำนวนผู้เข้าชม |
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 1600 ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดก ของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดย พินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม" ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม"
กองมรดกมีบัญญัติไว้ตามมาตรา 1600 พอจำแนกให้เห็นได้ว่ามรดกของผู้ตายนั้นดังนี้
ทรัพย์สินของผู้ตายอยู่ก่อนหรือขณะผู้ตายถึงแก่ความตาย
1.ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย คือ ทรัพย์และวัตุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้
2.สิทธิของผู้ตาย เช่น สิทธิตามสัญญาเช่าชื้อ สิทธิในการไถ่ทรัพย์ที่ขายฝาก
3.หน้าที่ของผู้ตาย เช่น หน้าที่ต้องชำระหนี้
4.ความรับผิดของผู้ตาย เช่น หนี้ของผู้ตายนั้นตกทอดไปยังทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2543
ผู้ร้องรับผิดเสียภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมถึง ห. ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และ 1087 เมื่อ ห. ถึงแก่ความตาย ความรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรจึงตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 และ 1600 และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จึงต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ตามมาตรา 1736 การที่จำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างแทน ห. ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นการกระทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่กองมรดกค้างชำระอยู่การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห. ทำบันทึกยินยอมชำระหนี้อีกฉบับหนึ่งหลังจากฉบับแรก 9 เดือน ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างไปอีกคราวหนึ่ง ถือได้ว่าจำเลยทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับที่สองทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะผู้จัดการมรดกของห. เนื่องจากจำเลยทำบันทึกดังกล่าวขึ้นเพื่อขอผัดผ่อนการชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างตามที่ได้มีการทำบันทึกยินยอมชำระหนี้ฉบับแรก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1737แม้จำเลยจะทำบันทึกยินยอมชำระหนี้โดยไม่โต้แย้งทั้งสิ้น แต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของ ห. เจ้ามรดกนั้น ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามมาตรา 1601 นอกจากนี้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 1724 ด้วย ปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ ยกขึ้นว่ากล่าวและวินิจฉัยมาในชั้นศาลภาษีอากร ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2538
แม้ ร. ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินพิพาทครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2510 และ ร.มีสิทธิเรียกร้องในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าซื้ออันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของ ร.ก็ตามแต่ในระหว่างที่ ร.ยังมีชีวิตอยู่ในปี 2513 ร.ได้ทำหนังสือแสดงความจำนงตามข้อบังคับของสหกรณ์ ธ.ว่าหาก ร.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสหกรณ์ ธ.ขอให้สหกรณ์ ธ.โอนบรรดาสิทธิผลประโยชน์และหนี้สินที่ ร.มีอยู่ในสหกรณ์ ธ.ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทต่อมา ร. ทำกินในที่ดินพิพาทไม่ไหวในปี 2518สหกรณ์ ธ.ได้รับจำนองเข้าเป็นสมาชิกแทน ร.สิทธิในที่ดินพิพาทจึงโอนมาเป็นของจำเลยตามข้อบังคับของสหกรณ์ดังกล่าวต่อมาปี 2522 ร.ถึงแก่ความตายสิทธิในที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ ร.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตายจึงไม่เป็นมรดกของ ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในปี 2531จึงไม่ใช่การรับโอนมรดกของ ร.ในฐานะเจ้าของรวมผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับโจทก์แต่เป็นเพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2538
จ.ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า10ปี แล้วจ.จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สิทธิอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 และ 1600 จึงตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของ จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2537
ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ตายขายให้แก่จำเลยแม้การซื้อขายจะเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีเพียงสิทธิครอบครอง การที่ผู้ตายขายให้จำเลยย่อมเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองที่พิพาทไม่ยึดถือเพื่อตนต่อไปแล้ว การครอบครองของผู้ตายจึงสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 จำเลยได้เข้าครอบครองเป็นเจ้าของที่พิพาทโดยนำเงินไปชำระหนี้แทนผู้ตายและรับ ส.ค.1 มาจากเจ้าหนี้ผู้ตาย แล้วให้ ส. ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ย ถือได้ว่าเป็นการยึดถือเพื่อตนจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นมรดกของผู้ตาย โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย เป็นการฟ้องร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเป็นคดีมีทุนทรัพย์
ความหมายของทายาท
กองมรดกตกทอดแก่ทายาทตามสิทธิทางกฏหมาย แบ่งทายาทเป็น 2.ประเภท
1.ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า ทายาทโดยธรรม
2.ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท โดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635
คำพิพากษาศาลฎีกาที่สำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2545
การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) นั้น นอกจากกฎหมายมิได้กำหนดว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว การที่จะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันผลก็จะกลายเป็นว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการตีความที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมายและมิใช่ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 ทั้งการเป็นพี่น้องด้วยกันนี้ก็หามีบทบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันเหมือนเช่นการเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฉะนั้น การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจึงต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อผู้ร้องและผู้ตายต่างมีบิดาคนเดียวกัน แม้จะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ถือว่าผู้ร้องกับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) เมื่อผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมในลำดับอื่นที่สูงกว่าผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านที่เข้ารับมรดกแทนที่บิดาซึ่งเป็นลุงของผู้ตายถือเป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องคัดค้านการที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกของผู้ตา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2551
การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) นั้น นอกจากกฎหมายมิได้กำหนดว่า พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว การที่จะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่า พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันผลก็จะกลายเป็นว่า พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการตีความที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมาย และมิใช่ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 ทั้งการเป็นพี่น้องด้วยกันนี้ก็หาได้มีบทบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันเหมือนเช่นการเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฉะนั้น การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจึงต้องถือตามความเป็นจริง เมื่อผู้ร้องที่ 1 และผู้ตายต่างมีบิดาคนเดียวกันแม้ผู้ตายจะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ถือว่าผู้ร้องที่ 1 กับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องที่ 1 จึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) เมื่อผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมในลำดับอื่นที่สูงกว่าผู้ร้องที่ 1 ผู้ร้องที่ 1 จึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงบุตรของ จ. ซึ่งเป็นลุงของผู้ตาย โดย จ. เป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (6) เมื่อมีผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 4 ซึ่งสูงกว่า จ. แล้ว จ. จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ทำให้ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้คัดค้านไม่มีสิทธิดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2506
การที่บิดากับบุตรเป็นทายาทและมีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 นั้น หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มาตรา 1627 เป็นบทยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บิดาได้รับรองแล้วมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดมาตรานี้ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายย่อมจะถือว่าบิดานั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ บิดาจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรที่ตนได้รับรองนั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่1อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเกิดจากผู้คัดค้านที่1ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแม้ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองจะขอถอนคำคัดค้านก็เพียงทำให้ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านระงับไปหาทำให้คำคัดค้านทั้งหมดรวมตลอดถึงเอกสารที่แนบมาไม่มีผลต่อคดีไม่เพราะผู้คัดค้านไม่ได้ยอมรับด้วยว่าคำคัดค้านพร้อมเอกสารที่เสนอต่อศาลไม่ถูกต้องทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอต่อศาลภายหลังยื่นคำคัดค้านก็ไม่ได้มีการเพิกถอนจึงรับฟังประกอบการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องได้ แม้ผู้คัดค้านที่2จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8เดือนว่าผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตามผู้คัดค้านที่2ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1558วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่1ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ้งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับที่3 จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2509
เมื่อเจ้ามรดกตาย ที่ดินของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่บุตรของเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมอันดับแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629ตัวพี่สาวของเจ้ามรดกย่อมถูกตัดออกจากทายาทตามมาตรา 1630
การที่พี่สาวของเจ้ามรดกก็ดี มารดาของเจ้ามรดกก็ดียอมรับสภาพหนี้ของเจ้ามรดกก็ย่อมไม่มีผลผูกพันบุตรของเจ้ามรดกเพราะไม่ได้เป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555,1556 อันสามารถทำนิติกรรมให้ผูกพันทรัพย์สินของผู้เยาว์
จำเลยเข้าไปตัดฟันต้นมะม่วงในที่ดินของผู้อื่นในขณะที่จำเลยยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและต้นมะม่วงนั้นการกระทำของจำเลยย่อมเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2560
ดีที่เอกชนทั้งสองยื่นฟ้องหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ร่วมกันรังวัดและออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองและปักป้ายประกาศว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์รุกล้ำที่ดินพิพาท ขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและให้คืนสิทธิในที่ดินแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจะมีคำขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง โดยอ้างว่าเป็นการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ฟ้องคดีทั้งสองตามที่กล่าวอ้างหรือเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2560
คดีที่เอกชนยื่นฟ้องสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของมารดา เจ้าของที่ดิน น.ส.2 แต่จำเลยนำที่ดินบางส่วนของโจทก์ไปจัดสรรและออก ส.ป.ก. 4-01 ก. และไปขอออกเป็นโฉนดที่ดิน เมื่อโจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่ออกให้ ขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. 4-01 ก. และโฉนดที่ดินส่วนที่ทับ น.ส.2 ของโจทก์ จำเลยให้การว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตปฏิรูป จำเลยจึงมีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาทำการปฏิรูปได้ การขอออกโฉนดและการออกโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่าตามคำฟ้องและคำให้การคู่ความต่างฝ่ายต่างกล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าว โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาก่อนตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป โดยไม่จำต้องวินิจฉัยการกระทำของหน่วยงานทางปกครองว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2560
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องสอดทั้งสามที่ได้รับการยกให้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฉะนั้น เมื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแล้วโอนขายต่อไปยัง อ. ตั้งแต่ปี 2544 ที่ดินพิพาทจึงไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอีกต่อไป ผู้ร้องสอดทั้งสามแม้จะเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็ไม่มีสิทธิใดๆ ในที่ดินพิพาทแล้ว เพราะย่อมต้องมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1724 วรรคหนึ่ง และการที่ในปี 2550 จำเลยยังใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) ฉบับเจ้าของที่ดิน ที่เคยแจ้งสูญหายไปนำเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทในนามของเจ้ามรดก ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆ แก่ทายาทของเจ้ามรดก การออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทในการนำเดินสำรวจของจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกจึงเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทคนล่าสุดก็ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิในที่ดินพิพาท
อนึ่ง ผู้ร้องสอดทั้งสามได้เข้ามาในคดีเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แม้โจทก์จะได้ถอนฟ้องจำเลยไปหลังจากนั้น แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาในฐานที่โจทก์กับผู้ร้องสอดทั้งสามพิพาทกันในที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีและคำขอของโจทก์ที่เดิมขอให้บังคับจำเลยโดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทนั้นอยู่ในสภาพที่เปิดช่องให้บังคับแก่ผู้ร้องสอดทั้งสามผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทได้ จึงชอบที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ มิใช่แต่เพียงยกคำร้องสอดของผู้ร้องสอดทั้งสามเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2560
คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 ส. เป็นเจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่ตน ระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าว ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23125 และ 23126 ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา โดยไม่ปรากฏว่า ส. ผู้เป็นเจ้าหนี้ทราบเหตุดังกล่าว เมื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้การฟ้องเรียกร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น ดังนี้ อายุความ 1 ปี จึงยังไม่เริ่มนับเนื่องจาก ส. เจ้าหนี้ได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนวันที่จำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมดังกล่าว ส. จึงมิอาจรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนได้ แม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จะได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้โดยบรรยายฟ้องคดีอาญาว่า โจทก์ทราบการกระทำผิดของจำเลยทั้งสี่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550 ก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเจ้าหนี้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันดังกล่าวกรณีจึงต้องบังคับตามอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 ยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2547 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2560
ป.เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ตามคำสั่งศาลจึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาท ย่อมมีสิทธินำหุ้นอันเป็นทรัพย์มรดกของ อ. เข้าร่วมเป็นองค์ประชุมในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยอันเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ทั่วไปของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และมาตรา 1723 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ได้มีลักษณะเป็นตัวแทนของทายาท เนื่องจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดก ให้นำบทบัญญัติ บรรพ 3 ลักษณะตัวแทนมาใช้โดยอนุโลมเท่านั้น และการกระทำเช่นนี้ไม่ใช่การทำนิติกรรมอันจะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ที่ 1 ถูกถอดถอนอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย แล้วให้ ป. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยเกิดจากการลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น แม้ ป. ในฐานะส่วนตัวจะออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบตามมติดังกล่าว แต่ได้งดออกเสียงลงคะแนนในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. การกระทำของ ป. จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นตามมาตรา 5 และมาตรา 421 เมื่อการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นมีผู้ถือหุ้นเข้าประชุมรวมกันแทนหุ้นไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมดครบองค์ประชุมตามข้อบังคับ การประชุมและมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2560
คดีที่เอกชนผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองว่า ผู้ฟ้องคดีครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เนื้อที่ 1 งาน 2.5 ตารางวา โดยได้รับมรดกมาจากบิดา ต่อมา ผู้ฟ้องคดียื่นขอออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานไม่สามารถออกโฉนดให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้ เนื่องจากมีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ สฎ 0042 ออกทับซ้อนที่ดินของผู้ฟ้องคดี ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ สฎ 0042 และชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้การว่า อำเภอพุนพินยื่นขอรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เจ้าพนักงานที่ดินได้สอบสวน รังวัดและประกาศโดยเปิดเผยให้ประชาชนทราบโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน โดยบิดาของผู้ฟ้องคดีได้ลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินว่าการรังวัดมิได้เหลื่อมล้ำแนวที่ดินของตน ที่ดินแปลงที่รังวัดเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ การออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ สฎ 0042 ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีเป็นโจทก์ฟ้องกรมที่ดินและผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี คดีหมายเลขดำที่ 740/2556 ขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ สฎ 0042 โดยอ้างว่าออกทับที่ดินของโจทก์ ซึ่งศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำพิพากษาแล้วเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 767/2557 และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จากนั้น โจทก์นำข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกันมาฟ้องต่อศาลปกครองนครศรีธรรมราชเป็นคดีนี้ ขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เมื่อพิจารณาคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้างและคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ข้อพิพาทในคดีนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ และแม้คดีนี้ผู้ฟ้องคดีจะตั้งรูปเรื่องในการฟ้องคดีโดยมีคำขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ สฎ 0042 ที่ออกทับที่ดินของผู้ฟ้องคดี ก็เป็นเพียงผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท อันมีมูลความเดียวกับคดีหมายเลขแดงที่ 767/2557 ของศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่าเป็นที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2560
ดีที่เอกชนยื่นฟ้อง มหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยมีหลักฐานการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) ผู้ถูกฟ้องคดีใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งวิทยาเขต จึงให้ราษฎรออกจากพื้นที่พิพาทและจัดสรรที่ดินแปลงใหม่ให้ราษฎรทดแทนที่ดินแปลงเดิมแต่ลดจำนวนพื้นที่ทำกินลง ผู้ถูกฟ้องคดีได้เข้ามาไถปรับที่ดินทำลายแปลงคันนาของผู้ฟ้องคดีจนได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งคืนที่ดินพิพาท พร้อมปรับสภาพที่ดินให้เหมือนเดิมคืนแก่ผู้ฟ้องคดี หากที่ดินพิพาทขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุแล้วและไม่สามารถเพิกถอนการขึ้นทะเบียนได้ ขอให้ผู้ฟ้องคดีได้สิทธิในการเช่าที่ดินพิพาทต่อไป และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีใช้พื้นที่เฉพาะบริเวณที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน ผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ฟ้องคดีมีเพียงแบบแสดงรายการชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) หรือใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.11) เอกสารดังกล่าวไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การที่ผู้ฟ้องคดีเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุ เป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิยึดถือครอบครองทำประโยชน์ ตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างหรือเป็นที่ราชพัสดุเป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นต่อไป จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2560
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1112 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตามวันกำหนด จำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ แม้ตามมาตรา 1123 บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น ให้ส่งใช้เงินที่เรียกเก็บกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้" ก็มิได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัด แต่มาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 บัญญัติว่า "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี..." ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นับแต่วันที่กำหนดส่งใช้เงินค่าหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 และมาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2560
คดีที่ผู้ฟ้องคดีเป็นเอกชนยื่นฟ้องกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง อ้างว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดโดยได้รับมรดกมาจากมารดา ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าเพื่อการค้าเนื่องจากได้ขายต้นไม้สักในที่ดินให้กับผู้ซื้อโดยได้รับเงินบางส่วนแล้ว แต่ถูกอธิบดีกรมที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนโฉนดอ้างว่า ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอาศัยหลักฐาน น.ส. 3 ที่ออกมาจากใบจองซึ่งออกให้แก่มารดาผู้ฟ้องคดีมีตำแหน่งอยู่ในเขต "ป่าแม่ปายฝั่งซ้าย" ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำมาจัดให้กับประชาชน ต้องห้ามมิให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดินกับพวกต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินดังกล่าว คดีอยู่ระหว่างพิจารณา ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าต้นไม้สักที่เหลือ พร้อมดอกเบี้ย แต่หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่าคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขายต้นไม้สักที่ต้องคืนให้แก่ผู้ซื้อพร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายจากการไม่อาจขายที่ดินแปลงพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า โฉนดที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากได้ออกจาก น.ส. 3 ที่ออกสืบเนื่องจากใบจองซึ่งออกให้แก่มารดาผู้ฟ้องคดีเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ "ป่าแม่ปายฝั่งซ้าย" ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะนำมาจัดให้ประชาชน ต้องห้ามมิให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า เหตุแห่งการฟ้องคดีสืบเนื่องมาจากคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีในการเพิกถอนโฉนดที่ดินของผู้ฟ้องคดีอันมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิด ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้นั้น ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดีหรือเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นสำคัญ อันเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดินกับพวกต่อศาลปกครองเชียงใหม่ ขอให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่ผู้ฟ้องคดีนำมาฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ และศาลปกครองเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาแล้ว เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 283/2560 ข้อพิพาทคดีนี้จึงชอบที่จะพิจารณาพิพากษาโดยศาลในระบบเดียวกัน คือศาลปกครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3536/2560
ผู้ร้องนำสืบพยานและอ้างส่งสำเนาพินัยกรรมต่อศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามที่ผู้ร้องระบุในบัญชีระบุพยาน และเป็นเอกสารที่ผู้ร้องต้องส่งสำเนาแก่ผู้คัดค้านแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ ก็ถือเป็นการไม่ชอบ
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการ มรดกของผู้ตายและขอให้ตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นว่า สมควรตั้งผู้ร้องหรือ ส. เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนข้ออ้างของผู้คัดค้านว่าที่ดินตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้านนั้น เป็นการอ้างว่ามิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นคดีต่างหากจากคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยว่าที่ดินตามพินัยกรรม 4 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของผู้คัดค้าน จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ผู้ตายมาพบเจ้าพนักงานปกครอง และแจ้งความประสงค์ในการทำพินัยกรรม แล้วเจ้าพนักงานปกครองพิมพ์ข้อความในพินัยกรรมตามความประสงค์ของผู้ตาย เมื่อไปพบผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตแล้ว เจ้าพนักงานปกครองอ่านข้อความในพินัยกรรมให้ผู้ตาย ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขต และพยานสองคนฟัง ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตสอบถามผู้ตายว่าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อความในพินัยกรรมหรือไม่ ผู้ตายตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงและยืนยันตามข้อความในพินัยกรรม แล้วผู้ตายและพยานสองคนลงชื่อในพินัยกรรม ดังนี้ การสอบถามของผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขต และการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) แล้ว เมื่อผู้ตายเห็นว่าถูกต้องและลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ และผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658 ส่วนที่คู่ฉบับพินัยกรรมไม่มีการประทับตราตำแหน่งไว้ ก็ไม่ทำให้พินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์เสียไป ผู้ร้องเป็นบุคคลที่ผู้ตายกำหนดในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2559
คดีที่เอกชน ผู้ฟ้องคดี ยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้ฟ้องคดีตรวจสอบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินมีโฉนดของบิดาผู้ฟ้องคดีพบว่า บิดาของผู้ฟ้องคดีได้นำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้กับผู้มีชื่อ แล้วต่อมาได้ไถ่ถอนจำนองและขายให้แก่ผู้มีชื่อดังกล่าว ซึ่งการซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่พบเอกสารการซื้อขาย พบแต่รายงานกรรมสิทธิ์ที่ดิน (ท.ด. 1) ประเภทขายที่ไม่มีลายมือชื่อหรือการพิมพ์ลายนิ้วมือบิดาของผู้ฟ้องคดี มีเพียงการลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่ผู้ถูกฟ้องคดีแจ้งว่าการจดทะเบียนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุเพิกถอน ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเพิกถอนหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า การจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุต้องเพิกถอน ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะฟ้องผู้ถูกฟ้องคดี โดยอ้างว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐในบังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่ศาลจำต้องพิจารณาให้ได้ความก่อนว่าการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายระหว่างบิดาผู้ฟ้องคดีกับผู้มีชื่อถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้กรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิในที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงไประหว่างบิดาผู้ฟ้องคดีกับผู้มีชื่อ ซึ่งเป็นเอกชนด้วยกัน อันเป็นเรื่องสิทธิในทางแพ่งของบุคคล แล้วศาลจึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งตามคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ต่อไป ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559
บันทึกเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความสรุปว่า จำเลยได้รับขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยยินดีจะทำสัญญาซื้อขายตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2556 ตามสัญญาเดิมที่ทำไว้พร้อมดอกเบี้ย โดยบันทึกดังกล่าวมีการอ้างถึงสัญญาขายฝากฉบับเดิมที่ น. มารดาโจทก์ทำไว้ก่อนตาย ซึ่งหากเป็นการตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสัญญาขายฝากฉบับเดิมไว้ ทั้งยังตกลงให้โจทก์ต้องชำระสินไถ่พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาขายฝากเดิมให้แก่จำเลยภายในวันที่ 26 มกราคม 2556 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยขยายกำหนดเวลาไถ่ให้แก่โจทก์โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้รับไถ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 วรรคสอง แล้ว น. มารดาโจทก์ผู้ขายฝากและจำเลยผู้รับซื้อตกลงคิดดอกเบี้ยเดือนละ 12,000 บาท กรณีจึงเป็นการกำหนดราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ซึ่งกำหนดให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ราคาสินไถ่ที่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145
30 ก.ค. 2567
9 ส.ค. 2567
21 ส.ค. 2567