ฟ้องศาลแล้วจะได้เงินคืนหรือไม่

Last updated: 27 ต.ค. 2566  |  756 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฟ้องศาลแล้วจะได้เงินคืนหรือไม่

                ฟ้องศาลแล้วจะได้เงินคืนหรือไม่

                การจะฟ้องศาลเพื่อเรียกเงินกับคู่กรณี ไม่ว่าจะเป็นกรณี หนี้จากการกู้ยืมเงิน หนี้จากการเล่นแชร์ หนี้จากการผิดสัญญาซื้อขาย หนี้จากการถูกฉ้อโกง หนี้จากการถูกยักยอกทรัพย์ หนี้จากการจ่ายเงินแทนลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน หนี้จากการถูกกระทำละเมิด หนี้จากการเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร หนี้จากการแบ่งสินสมรส หนี้จากการแบ่งกรรมสิทธิ์ร่วม หนี้จากการเงินทดแทนที่เป็นชู้ หนี้จากการทำงานให้แก่นายจ้าง หนี้จากการผิดสัญญาก่อสร้าง เป็นต้น

                ซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิที่จะฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกเงินจากหนี้ที่มีจำนวนที่แน่นอนและหนี้จากการประเมินความเสียหาย ซึ่งเมื่อฟ้องศาลแล้ว ก็จะมีขั้นตอนคือ นัดเจรจาไกล่เกลี่ย นัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษา ในส่วนของคดีแพ่ง และในส่วนของคดีอาญาก็คือ นัดไต่สวนมูลฟ้อง นัดคุ้มครองสิทธิ นัดพร้อม นัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษา ซึ่งการจะฟ้องแล้วได้เงินจากคู่กรณีนั้น เป็นได้ทั้ง คู่กรณีมาศาลและมาขอเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้ฟ้องคดี หรือที่เรียกว่า โจทก์ หากสามารถตกลงกันได้ และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเรียบร้อยแล้ว และคู่กรณี หรือที่เรียกว่า จำเลย ปฎิบัติตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันในศาล ก็จะถือว่าโจทก์ได้รับเงิน หรือกรณีจำเลยนำเงินมาวางศาลตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องมา ก็จะถือว่าคดีเป็นอันยุติ และในกรณีสุดท้ายก็คือ ศาลมีคำพิพากษาเรียบร้อยแล้วให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ก็มีสิทธิจะดำเนินการสืบทรัพย์ของจำเลย ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หุ้น เงินเดือนที่เกินกว่า 2 หมื่นบาท เป็นต้น เพื่อดำเนินการยึดหรือายัดผ่านกรมบังคับคดีได้ เมื่อมีการยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดเรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็จะได้รับเงินตามจำนวนที่ประมวลหักกับส่วนค่าธรรมเนียมของกรมบังคับคดี และโจทก์ก็มีสิทธิจะมารับเงินในจำนวนดังกล่าว ส่วนอายัดเงินเดือนโจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับเงินที่อายัดจากบริษัทของจำเลยที่จะนำส่งให้แก่กรมบังคับคดีทุกเดือน

                  ดังนั้นการที่ฟ้องศาลแล้วจะได้เงินจากจำเลยหรือไม่นั้น เป็นไปได้หลายรูปแบบ ทั้งจำเลยยอมจ่าย ยอมมาเจรจา หรือบังคับคดียึดทรัพย์อายัดเงินเดือนของจำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่จ่าย ไม่มีทรัพย์สินให้ยึด ไม่ได้ทำงานมีเงินเดือนเกิน 2 หมื่นบาท โจทก์ก็อาจจะไม่เงินตามที่คาดหวังได้ แต่ทั้งนี้ก็มีระยะเวลาในการสืบทรัพย์สิน คือ 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษา หากเกินระยะเวลา 10 ปีแล้ว ยังไม่สามารถสืบทรัพย์ของจำเลยเพื่อมาขายทอดตลาดได้ คดีก็ถือว่าจบ เฉพาะฉะนั้นการฟ้องศาลมีโอกาสทั้งได้เงินและไม่ได้เงิน ซึ่งเป็นเรื่องของอนาคตและไม่อาจคาดเดาได้ ซึ่งจากการทำคดีของสำนักงานของเราบางกรณีดูข้อเท็จจริงของจำเลยแล้ว ไม่น่าจะมีทรัพย์สินและไม่น่าจะชำระหนี้ แต่พอฟ้องไปแล้ว ก็มาขอเจรจาและปิดจบหนี้จนครบ ก็มีหลายกรณี ซึ่งหากคุณไม่ได้ดำเนินคดีก็เท่ากับหนี้หรือเงินที่จะเรียกร้องในส่วนนี้เป็นศูนย์ไม่มีโอกาสที่จะได้เงินดังกล่าว แต่หากฟ้องร้องต่อศาลก็มีโอกาสจะได้เงินตามที่คาดหวังไว้ แต่โอกาสจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่ข้อเท็จจริงในคดีและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนัดของศาล

 

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

               

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้