ก่อนจะหมั้น ต้องรู้อะไรบ้าง

Last updated: 27 ต.ค. 2566  |  1443 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ก่อนจะหมั้น ต้องรู้อะไรบ้าง

                  ก่อนจะหมั้น ต้องรู้อะไรบ้าง  

                 พิธีหมั้นและพิธีสมรสเป็นพิธีตามประเพณีของประเทศไทยมายาวนาน ชาย-หญิง ที่รักใคร่ชอบพอกัน ตกลงจะเป็นสามีภรรยากันแบบเปิดเผย บางคู่รักก็จะมีการหมั้นกัน เพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าจะมีการเข้าพิธีสมรสกันในอนาคต และสำหรับการหมั้นนั้นก็จะต้องมีการส่งมอบสินสอดทองหมั้นให้แก่บิดามารดาของคู่รักอีกฝ่ายหรือกับคู่รักของคุณ เพื่อตอบแทนการเลี้ยงดูและเป็นการการันตรีว่าจะไม่ผิดสัญญาหมั้นและเข้าพิธีสมรสอย่างแน่นอน

 

                 ก่อนจะเข้าพิธีหมั้นควรต้องทำอะไรก่อน

               · ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าคู่รักของคุณนั้นมีการไปจดทะเบียนสมรสกับใครแล้วหรือไม่ โดยการตรวจสอบดังกล่าวสามารถไปขอตรวจสอบได้ที่เขตหรืออำเภอหรือให้ทนายความเป็นผู้ตรวจสอบแทนก็สามารถทำได้

               · ตรวจร่างกายของทั้งคุณและคู่รักว่ามีโรคติดต่อใดๆหรือเป็นโรคติดต่อที่ติดทางเพศสัมพันธ์กันหรือไม่

               · ไปดำเนินการตกลงกับบิดามารดาของคู่รักของคุณในเรื่องสินสอดทองหมั้นว่าจะมีจำนวนเท่าใด และเมื่อตกลงกันได้แล้ว ก็เตรียมสินสอดทองหมั้นให้พร้อมในวันพิธีหมั้นดังกล่าว

               ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 บัญญัติว่า การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับฝ่ายหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิของฝ่ายหญิง

               เมื่อได้มีการส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น โดยต้องให้ของหมั้นในวันหมั้น และของหมั้นก็ตกเป็นกรรมสิทธิของฝ่ายหญิง ก็ถือว่าจบพิธีการหมั้น แต่อีกประเด็นที่สำคัญก็คือหากหมั้นแล้ว ไม่ได้มีการสมรสกัน ผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้สินสอดทองหมั้นจะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหากฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นโดยไม่ประสงค์จะเข้าพิธีสมรสกับฝ่ายชาย โดยที่ฝ่ายชายมิได้กระทำความผิดอันใดที่จะเป็นเหตุให้ยกเลิกสัญญาหมั้นได้ กรณีนี้แบบนี้ฝ่ายหญิงจะต้องคืนของหมั้นทั้งหมดและแก่ฝ่ายชาย และฝ่ายชายยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายกับฝ่ายหญิงได้ด้วย กลับกันหากฝ่ายชายเป็นชายผิดสัญญาหมั้นโดยไม่ประสงค์จะสมรสกับฝ่ายหญิงโดยที่ฝ่ายหญิงมิได้กระทำความผิดอันใด ฝ่ายหญิงก็มีสิทธิยึดของหมั้น และฟ้องเรียกค่าเสียหายกับฝ่ายชายได้เช่นเดียวกัน แต่ค่าเสียหายจะได้รับมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านชื่อเสียงและความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่นหากฝ่ายหญิงเป็นคนมีชื่อเสียง มีหน้ามีตาทางสังคม และได้ดำเนินการเสียค่าจัดงานแต่งไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อฝ่ายชายไม่ยอมสมรสด้วย ก็จะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของฝ่ายหญิงเป็นอย่างมาก ฝ่ายชายจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ฝ่ายหญิงพร้อมกับค่าจัดงานแต่งงานดังกล่าวนั้นด้วย


 

ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00 – 18.00

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้