ค้ำประกันให้คนอื่น ระวังจะต้องจ่ายหนี้แทน

Last updated: 7 ส.ค. 2566  |  689 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ค้ำประกันให้คนอื่น ระวังจะต้องจ่ายหนี้แทน

           ค้ำประกันให้คนอื่น ระวังจะต้องจ่ายหนี้แทน

           การที่คุณไปค้ำประกันให้บุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน เพื่อนร่วมงาน พี่น้อง ญาติ หรือใครก็ตาม โดยการค้ำประกันดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นค้ำประกันเงินกู้ยืม ค้ำประกันการเช่าซื้อรถ ค้ำประกันการทำงาน ค้ำประกันสินเชื่อธนาคาร เป็นต้น หากคนที่คุณค้ำประกันให้นั้นเกิดผิดสัญญา ผิดนัดชำระหนี้ หรือไปสร้างความเสียหายใดๆในการทำงาน และคนที่คุณไปค้ำประกันให้นั้น ไม่ชำระหนี้หรือชำระค่าเสียหาย คุณในฐานะผู้ค้ำประกันก็จะต้องชดใช้หนี้หรือค่าเสียหายดังกล่าวต่อ แม้ว่ากฎหมายใหม่จะกำหนดให้คุณไม่ได้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ตาม กล่าวคือรับผิดชอบในหนี้เฉพาะในส่วนที่ค้ำประกันเท่านั้น เช่น ทำสัญญาค้ำประกันยอดหนี้ 5 แสนบาทเท่านั้น ดังนั้นแม้หนี้รวมดอกเบี้ยจะเกินกว่า 5 แสนบาท คุณก็จะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ในจำนวน 5 แสนบาทเท่านั้น

           ซึ่งตามกฎหมายเจ้าหนี้จะต้องไปดำเนินการติดตามหนี้จากลูกหนี้ก่อน จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนหรือพร้อมกับลูกหนีไม่ได้ หากติดตามทวงถามหนี้กับลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้ถึงจะมีสิทธิติดตามทวงถามหนี้กับผู้ค้ำประกัน และเมื่อลูกหนี้และคุณในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ได้ชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกันต่อศาลได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ทั้งลูกหนี้และผู้ค้ำประกันชำระหนี้แล้ว หากยังไม่มีใครชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะมีสิทธิไปติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินหรือไม่สามารถอายัดเงินใดๆได้ หรือมีแต่ไม่เพียงพอต่อหนี้ เจ้าหนี้ก็จะบังคับคดีกับผู้ค้ำประกันในส่วนของหนี้ที่ค้างชำระอยู่

           โดยการบังคับคดีคือการบังคับยึดทรัพย์สินที่เป็นชื่อของผู้ค้ำประกัน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เพื่อขายทอดตลาด หรือายัดเงินเดือนหากมีเงินเดือนเกิน 2 หมื่นบาท อายัดเงินโอที อายัดเงินโบนัส อายัดหุ้น เครื่องจักร เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่มีความจำเป็นใด อย่าไปค้ำประกันใครจะดีที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นอยู่ดีๆคุณก็อาจจะต้องรับผิดชอบหนี้แทนโดยที่คุณก็ไม่ได้มีส่วนในการใช้ประโยชน์ในหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด

          หากคุณมีกำลังประสบปัญหาในเรื่องการค้ำประกันอยู่ และยังไม่รู้ว่าควรจะทำตัวแบบไหน หรือจะจัดการแบบไหนอย่างไร สามารถติดต่อสอบถามทางสำนักงานกฎหมายของเราได้ ทางสำนักงานทนายของเราพร้อมและยินดีจะช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่

.



ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้