ผู้ซื้อกู้ไม่ผ่าน เปลี่ยนใจ สร้างล่าช้า ผ่อนไม่ไหว ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเงินดาวน์คืนได้ทุกกรณี - ทนายนิธิพล

Last updated: 6 ก.ย. 2565  |  2312 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผู้ซื้อกู้ไม่ผ่าน เปลี่ยนใจ สร้างล่าช้า ผ่อนไม่ไหว ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเงินดาวน์คืนได้ทุกกรณี - ทนายนิธิพล

ผู้ซื้อกู้ไม่ผ่าน เปลี่ยนใจ สร้างล่าช้า ผ่อนไม่ไหว ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเงินดาวน์คืนได้ทุกกรณี

 

          เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อบ้านซื้อคอนโดต้องรู้ ไม่เช่นนั้นจะเสียสิทธิในการขอเงินคืน เมื่อไม่ซื้อบ้านหรือคอนโดแล้ว เมื่อผู้ซื้อมีการยกเลิกแล้ว สามารถทำหนังสือเรียกร้องเงินดาวน์ แต่หากทางโครงการเป็นฝ่ายผิดสัญญาผู้ซื้อสามารถทำเป็นหนังสือเรียกเงินทั้งหมดคืนได้ หากทางโครงการไม่จ่ายเงินคืน สามารถทำเรื่องฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกเงินคืนได้พร้อมดอกเบี้ย โดยมีอายุความ 10 ปี เลยทีเดียวในการฟ้อง

          ปรึกษาในเบื้องต้น FB : http://m.me/nitilawandwinner หรือโทร 095-453-4145 เวลาปรึกษา 10.00 - 18.00 น. วันจันทร์ - วันเสาร์

          กว่าจะตัดสินใจจะซื้อบ้านสักหลังหรือคอนโดสักห้องไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเก็บเงินหรือผ่อนเงินดาวน์และยังต้องทำเรื่องกู้กับธนาคารผ่อนนานหลายสิบปี การจะเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดจึงต้องคิดไตร่ตรองให้รอบคอบมากที่สุด

          แต่ถึงแม้จะเลือกและตัดสินใจมาดีแล้วอย่างไร ก็อาจมีเหตุที่ทำให้ผิดหวังไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ได้ เช่น เกิดภาวะเศรษฐกิจ ผ่อนดาวน์มาครบแล้วแต่กู้เงินกับธนาคารไม่ผ่าน ตกงาน ถูกปรับลดเงินเดือน ธุรกิจต้องปิดกิจการจนไม่สามารถจะผ่อนไหวหรือสามารถซื้อบ้านหรือคอนโดต่อไปได้ และยังได้เซ็นสัญญาโดยมีข้อกำหนดว่าหากยกเลิกจะถูกริบเงินทั้งหมด

 

ปัญหานี้มีทางแก้

          จากประสบการณ์ของผม ทนายนิธิพล ที่เคยเป็นทนายความส่วนตัวให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่ขายคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรร จึงมีความเชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นพิเศษ สำนักงานมีทีมงาน มีที่ตั้งสำนักงานเป็นหลักแหล่ง สามารถตรวจสอบได้

          ซึ่งทางแก้ในกรณีที่หนึ่ง การทางโครงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาใดๆ แต่กลับเป็นผู้ซื้อเองที่เปลี่ยนใจหรือประสบกับปัญหาทางด้านการเงินหรือกู้ไม่ผ่าน กรณีแบบนี้ผู้ซื้อสามารถขอยกเลิกสัญญาได้ แต่ผู้ซื้อมีสิทธิจะได้รับเงินคืนเฉพาะส่วนที่เป็นเงินดาวน์เท่านั้น ถึงแม้ว่าในสัญญาจะซื้อจะขายจะมีเงื่อนไขว่าสามารถริบเงินได้ทั้งหมดก็ตาม เพราะถือเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เอาเปลี่ยนผู้บริโภค อีกทั้งข้อกำหนดที่บังคับตรวจรับบ้านหรือคอนโดได้ครั้งเดียว ต้องโอนก่อนแล้วค่อยซ่อมทีหลัง หรือมีค่าเปลี่ยนสัญญา และอื่นๆ ล้วนเป็นโมฆะทั้งสิ้น ไม่มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด

          ทางแก้ในกรณีที่สอง การที่โครงการเป็นฝ่ายผิดสัญญา เช่น โครงการก่อสร้างล่าช้าเกินกว่าที่กำหนดในสัญญา ก่อสร้างผิดแบบ ไม่ผ่าน EIA (รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ไม่มาเก็บงาน ซ่อมแซมงาน เป็นต้น ซึ่งกรณีแบบนี้ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเงินดาวน์ เงินจอง เงินทำสัญญา เงินมัดจำ รวมถึงสามารถเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมได้

          หากมีการส่งหนังสือไปเรียกเงินคืน โครงการเพิกเฉย ไม่คืนเงิน ผู้ซื้อต้องมีการว่าจ้างทนายไปฟ้องต่อศาลเป็นคดีผู้บริโภค มีอายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ระบุว่า “อายุความนั้น ตามประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี” เพราะเรื่องดังกล่าวนี้ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะในการฟ้อง แต่ควรรีบฟ้องในทันทีเพราะหากปล่อยไว้นานอนาคตธุรกิจของ Developer อาจจะยุติธุรกิจไปแล้วหรืออาจล้มละลายก็มีความเป็นไปได้

          เมื่อมีปัญหาดังกล่าว ควรนัดทนายความคุยรายละเอียดของคดีและนำหลักฐานทั้งหมดส่งมาให้ทนายดูก่อน เพื่อกำหนดค่าดำเนินการในฟ้องร้อง และแนวทางขั้นตอนแบบละเอียดต่อไป อย่าไปกลัวทางโครงการว่าเขามีความเชี่ยวชาญทางด้านอสังหาริมทรัพย์ มีทนายในบริษัทเยอะ ไม่จำเป็นต้องไปกลัว เพราะเรายึดตามสัญญาและพยานหลักฐานเป็นหลัก และทนายก็มีความรู้ในเรื่องเทคนิคของบริษัทอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน อีกทั้งหากท่านไม่มีทนายให้คำปรึกษาแล้วไปคุยเพื่อขอเงินคืนโดยตรง ทางโครงการจะมีกลยุทธ์ต่างๆมาหลอกล่อให้คุณหลงเชื่อได้โดยง่าย เพราะหากไม่ได้ปรึกษาทนายโดยตลอด อาจเผลอไปทำอะไรให้เสียเปรียบในการฟ้องต่อศาลได้

          การกำหนดค่าว่าจ้างของทนายไม่ใช่เรื่องง่าย ขึ้นอยู่ความยากง่ายของคดี ดังนั้นจึงต้องเอารายละเอียดทั้งหมดพร้อมหลักฐานมานัดคุยรายละเอียดก่อน ถึงจะสามารถกำหนดค่าดำเนินการทั้งหมดที่ชัดเจนได้ ความยากง่ายของคดีมีอะไรบ้าง 1) ข้อเท็จจริงของคดีมีเยอะแค่ไหน 2) เป็นเรื่องกฎหมายทั่วๆไปหรือไม่ 3) มีความซับซ้อนมากน้อยแค่ไหน 4) พยานหลักฐานทั้งพยานเอกสารและพยานบุคคลมีมากน้อยแค่ไหน 5) กรอบระยะเวลาในการทำงานมากน้อยแค่ไหน 6) คู่กรณีหรือทนายฝ่ายตรงข้ามมีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมากน้อยแค่ไหน 7) ความเสี่ยงที่ทนายจะต้องได้รับมีหรือไม่ เป็นต้น หากทนายกำหนดค่าว่าจ้างโดยยังไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด จะทำให้ทนายคิดค่าทนายที่ไม่เหมาะสมได้ โดยอาจคิดสูงเกินไปหรือต่ำเกินไปจนทนายไม่คุ้มที่จะทำงาน อีกทั้งยังต้องดูอุปนิสัยของผู้ว่าจ้างด้วยว่าเป็นคนอุปนิสัยเป็นอย่างไร สามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่

 

ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

รับว่าความทุกคดี ทั่วราชอาณาจักรไทย

Facebook Fan Page :: ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

เปิดทำการ :: วันจันทร์ – วันเสาร์

เวลาทำการ :: 09:00 - 18:00 น.

เบอร์ติดต่อ (โทรเวลาทำการ) :: 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้