Last updated: 6 ส.ค. 2565 | 1855 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วมีทรัพย์สินซึ่งถือเป็นทรัพย์มรดกที่ต้องตกทอดแก่ทายาทตามส่วนที่จะได้รับ โดยการที่จะมีสิทธิจัดการทรัพย์สินของผู้ตายได้นั้น จะต้องไปร้องขอต่อศาลให้ตั้งทายาทคนหนึ่งคนใดหรือร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน ถึงจะมีอำนาจแบ่งหรือเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้ตายได้
โดยการเป็นผู้จัดการมรดกนั้นมีหน้าที่ที่ต้องแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามส่วน จะดำเนินการนำทรัพย์มรดกดังกล่าวมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ (ในกรณีมีทายาทหลายคน) เว้นเสียแต่ทายาทคนอื่นสละมรดก การที่ผู้จัดการมรดกนำทรัพย์ไปเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียว มีโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา กล่าวคือในโทษทางอาญา ผู้จัดการมรดกจะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และในส่วนของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทายาทที่ยังไม่ได้รับการแบ่งมรดก สามารถฟ้องขอให้ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่ตนได้และยังมีสิทธิฟ้องเพิ่มตัดสิทธิผู้จัดการมรดกมิให้มีสิทธิรับมรดกได้ รวมไปถึงร้องเพิกถอนการเป็นผู้จัดการมรดกและฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์มรดกจากผู้ตายไปให้แก่ผู้จัดการมรดกได้
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
รับว่าความทุกคดี ทั่วราชอาณาจักรไทย
Facebook Fan Page :: ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
เปิดทำการ :: วันจันทร์ – วันเสาร์
เวลาทำการ :: 09:00 - 18:00 น.
เบอร์ติดต่อ (โทรเวลาทำการ) :: 095-453-4145