กักตัวโควิด-19 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไหม - ทนายนิธิพล

Last updated: 26 ต.ค. 2564  |  6446 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กักตัวโควิด-19 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไหม - ทนายนิธิพล

กักตัวโควิดนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไหม


          สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยที่ลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้างและนายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ลูกจ้าง ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ต้องตอบแทนซึ่งกันและกัน ลูกจ้างก็ต้องทำงานให้นายจ้าง นายจ้างเองก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ หากมีเหตุที่ทำให้ลูกจ้างต้องหยุดกักตัวโควิด 14 วัน จะได้รับค่าจ้างหรือไม่ สามารถอธิบายเป็นกรณีได้ดังนี้

           #กรณีแรก เป็นกรณีที่ลูกจ้างรู้สึกป่วย จนต้องไปพบแพทย์ ซึ่งเป็นในลักษณะ มีไข้ มีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ จากการไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าจะเป็นผู้ที่ติดเชื้อ สามารถใช้สิทธิลาป่วยได้ ถึงแม้เราใช้สิทธิลาป่วยก็ยังสามารถได้รับค่าจ้างอยู่หากสิทธิลาป่วยหมดจะใช้สิทธิลาพักร้อนก็ได้

           #กรณีที่สอง เป็นกรณีที่หยุดเพื่อเฝ้าดูอาการ 14 วัน ตามหลักแล้วการจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน  เมื่อลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามหลัก No Work No Pay  แต่ลูกจ้างสามารถตกลงกับนายจ้างขอทำงานอยู่บ้านแทนหรือใช้สิทธิลาป่วยได้หากสิทธิลาป่วยหมดลูกจ้างก็สามารถใช้สิทธิลาพักร้อนก็ได้ แต่ถ้าหากลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยและลาพักร้อนครบแล้วตามกฎหมายหรือตามระเบียบของบริษัท ลูกจ้างอาจต้องตกลงกับนายจ้างขอลาหยุดงานโดยไม่ได้รับค้าจ้างตามหลัก No Work No Pay  เพื่อเฝ้าดูอาการ 14 วัน

            #กรณีที่สาม เป็นกรณีที่ป่วยเป็นโควิด 19 ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็ต้องถือว่าลูกจ้างป่วยก็สามารถใช้สิทธิลาป่วยได้ หรือหากสิทธิลาป่วยหมดก็สามารถใช้สิทธิลาพักร้อนได้ แต่ถ้าไม่มีสิทธิทั้งลาป่วยหรือลาพักร้อน ก็อาจต้องตกลงกับนายจ้างว่าขอหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทด้วย

               ดังนั้นแล้วอยากแนะนำว่าเก็บสิทธิลาป่วยและลาพักร้อนไว้เถอะครับ เพราะถึงเราหยุดเราก็ยังได้รับเงินค่าจ้างซึ่งตามกฎหมายแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง 30 วันต่อปี ตามมาตรา 32 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และมีสิทธิลาพักร้อน อย่างน้อย 6 วันต่อปี (กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี ซึ่งวันลาพักร้อนจะมากกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายแต่ละบริษัท) ตามมาตรา 30 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

 

ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้