การขอจดทะเบียนรับรองบุตร - ทนายนิธิพล

Last updated: 26 ต.ค. 2564  |  4001 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การขอจดทะเบียนรับรองบุตร - ทนายนิธิพล


                 บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ดังนั้น เด็กที่เกิดจาก บิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว แต่ถ้าหากต้องการให้เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรสามารถทำได้ดังนี้คือ

                 1.จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันกับมารดาบุตรภายหลัง หรือ


                 2.บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร ในกรณีแม่และเด็กที่สามารถให้ความยินยอมได้โดยจดที่เขตหรืออำเภอ หรือ


                3.บุตรยังไม่สามารถให้ความยินยอมด้วยตนเองได้ ต้องร้องต่อศาลขอรับรองบุตร หรือ
      

                4.ในกรณีที่มารดาของบุตรไม่อนุญาตให้จดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องฟ้องร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา

                ขั้นตอนการจดทะเบียนรับรองบุตร

               - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของบิดา มารดา และบุตร

               - บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา สูติบัตรของบุตร

               - พยานบุคคล จำนวน 2 คน

               - มารดาและบุตรให้ความยินยอมต้องมาด้วยตนเอง

               - คำพิพากษาของศาล (กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้าน หรือไม่ให้ความยินยอม) เนื่องจากบิดาจะจดทะเบียนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 เมื่อเด็กและมารดาไม่ให้ความยินยอมจึงต้องร้องขอต่อศาลให้ศาลพิพากษาให้เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย



              *** การแจ้งเกิดเด็กในใบสูติบัตรหรือยินยอมให้ใช้นามสกุล ไม่ถือว่าเป็นการรับรองบุตร

 




ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้