นำภาพถ่ายของบุคคลอื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ - ทนายนิธิพล

Last updated: 26 ต.ค. 2564  |  4001 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นำภาพถ่ายของบุคคลอื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ - ทนายนิธิพล

 

           รุปถ่ายที่เรา ถ่ายขึ้นมาเอง หรือ ได้ว่าจ้างให้บุคคลอื่นถ่ายภาพให้  ถือเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองทันทีนับแต่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

           ตัวอย่าง  เช่น นาย ข เปิดร้านขายอาหาร  และได้ถ่ายภาพเมนูอาหารลงโพสต์ขาย  ทางอินเตอร์เน็ต  ต่อมานาย ค. เห็นภาพเมนูอาหาร ของนาย ข. จึงได้แอบนำภาพเมนูอาหารของ นาย ข. ไปโพสต์ขายทางอินเตอร์เน็ตในร้านอาหารของตน ดังนั้นการที่นาย ค. นำภาพถ่ายเมนูอาหารมาเผยแพร่ จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน  จึงจะสามารถนำมาเผยแพร่ในร้านของตนได้ ดังนั้น นาย ค. ได้นำงานอันมีลิขสิทธิ์ ทำการเผยแพร่ต่อสาธารณะชน จึงถือนาย ค. ละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ สามารถเอาผิด และเรียกค่าเสียหายได้        

                ลิขสิทธิ์ คือ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรมนาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด 

                      เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่ จะกระทำการใด ๆ กับผลงานอันมีลิขสิทธิ์ของตน ดังนี้
                           1.ทำซ้ำหรือดัดแปลง
                           2. การเผยแพร่ต่อสาธารณชน
                   3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำาเนางาน โปรแกรม คอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่ง บันทึกเสียง
                          4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
                          5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ในการเช่าซื้อ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน และให้เช่า

 



ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145

 

 

 

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้