หากลูกหนี้ตาย เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับให้ทายาทนำทรัพย์สินส่วนตัว ของทายาทมาใช้หนีแทน - ทนายนิธิพล

Last updated: 26 ต.ค. 2564  |  16821 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หากลูกหนี้ตาย เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับให้ทายาทนำทรัพย์สินส่วนตัว ของทายาทมาใช้หนีแทน - ทนายนิธิพล

                เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นต้องตกทอดแก่ทายาท และกองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ต้องมีอยู่ก่อน หรือขณะถึงแก่ความตาย

         เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้สามารถบังคับให้ทายาทชำระหนี้ได้ แต่การชำระหนี้นั้น หากทายาทไม่ได้รับมรดกมาเลย หรือได้รับมรดกมาแค่บางส่วน ไม่พอที่จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้ทั้งหมด เจ้าหนี้จะไม่สามารถเรียกให้ทายาท นำทรัพย์สินส่วนตัวของทายาท มาชำระหนี้แทนลูกหนี้ ( ผู้ตาย ) ได้ เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ได้จำกัดความรับผิจากกองมรดกของทายาท ไว้ว่า มาตรา 1601  ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน   หมายถึง ทายาทไม่ต้องรับผิดกับเจ้าหนี้เกินกว่า ทรัพย์มรดกที่ทายาทได้รับมากจากเจ้ามรดก ( ผู้ตาย )

         ยกตัวอย่าง เช่น  นายสาม (ลูกหนี้)  ได้ถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกคือ รถยนต์ 1 คัน ราคาประมาณ 200,000 บาท และนายสาม ได้ติดหนี้ นางเขียว อยู่จำนวนเงิน 500,000 บาท  นายสามมีทายาท คือ นางหนึ่ง ( บุตรสาว ) เป็นข้าราชการ มีบ้าน มีรถ  และได้รับมรดก รถยนต์ ของนายสาม   เมื่อนางเขียวทราบว่านายสามได้ถึงแก่ความตาย นางเขียวจึงมาเรียกให้ นางหนึ่งชำระหนี้แทนพ่อของตน ดังนั้น นางเขียวจะเรียกให้นางหนึ่งชำระหนี้ได้เพียง รถยนต์ ของนายสาม ที่มีมูลค่า 200,000 บาท เท่านั้น นางเขียวไม่สามารถบังคับให้ นางหนึ่ง นำบ้าน หรือ รถยนต์ของตน มาชำระหนี้แทนนายสาม ในจำนวนเงิน อีก 300,000 บาท ได้

 

 

ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้