สั่งของแล้วไม่ได้ของ แจ้งความฉ้อโกงได้ - ทนายนิธิพล

Last updated: 26 ต.ค. 2564  |  24009 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สั่งของแล้วไม่ได้ของ แจ้งความฉ้อโกงได้ - ทนายนิธิพล

            ในกรณีที่สั่งสินค้าทางสื่อออนไลน์ แล้วไม่ได้รับสินค้า เอาผิดกับพ่อค้าแม่ค้าได้ คือ

             กรณีที่สามารถแจ้งความได้
             หากจะเป็นความผิดอาญา ต้องดูที่เจตนาเป็นหลัก คือมีเจตนาฉ้อโกงหรือไม่ เจตนาฉ้อโกง เช่น ไม่มีสินค้าอยู่จริง ไม่มีหน้าร้าน หรือไม่ใช่แม่ค้าพ่อค้าจริงๆ แต่เพียงหลอกให้ผู้อื่นโอนเงินมาสั่งซื้อสินค้ากับตนและไม่สามารถทำการส่งสินค้าได้  การกระทำดังกล่าวถือเ ป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

           กรณีที่ไม่สามารถแจ้งความได้

            คือกรณีที่มีสั่งซื้อสินค้ากัน  และมีการขายสินค้าอยู่จริง มีร้านค้าอยู่จริง  การที่ได้รับของเพียงบางส่วน หรือ อาจส่งมอบสินค้าล่าช้า  ดังนั้นจะเป็นความผิดสัญญาซื้อขายทางแพ่ง  หากมีการชำระเงินไปแล้ว แต่แม่ค้าไม่ส่งของให้ ก็สามารถฟ้องร้องคดีเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง หรือเรียกเงินคืน ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453  อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย รวมถึงการซื้อขายที่มีการสั่งซื้อสินค้าที่ไม่ใช่ครั้งแรกกับผู้ขายรายเดิม ก็เป็นเพียงการผิดสัญญาซื้อขาย ก็เป็นความผิดทางแพ่งเท่านั้น ต้องฟ้องร้องต่อศาลแพ่งเป็นคดีผู้บริโภค

 

ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้