ทำแท้งมีโทษจำคุก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

Last updated: 11 มิ.ย. 2567  |  163 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำแท้งมีโทษจำคุก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

         ทำแท้งมีโทษจำคุก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

         กรณีที่มีเจตนาหรืออยากที่จะทำแท้ง รวมไปถึงผู้ที่ทำให้หญิงที่ตั้งครรภ์แท้งลูกหรือผู้ที่เป็นคนทำแท้งให้แก่หญิงที่ตั้งครรภ์โดยหญิงตั้งครรภ์เป็นผู้ยินยอมก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความผิดและโทษตามกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องการแท้งลูกนั้นจะระบุอยู่ในมาตรา 301 – 305 (อัพเดตกฎหมายใหม่ ปี 2564) แต่ทั้งนี้ก็มีข้อยกเว้นบางประการที่การทำแท้งนั้นจะนั้นจะไม่มีความผิดหรือเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ โดยตามประมวลกฎหมายอาญา

         มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         ซึ่งตามความผิดในมาตรา 301 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ประสงค์ที่จะทำแท้งลูก หากไม่มีเจตนาที่จะทำแท้งก็ไม่ผิด โดยการทำแท้งนั้นไม่จำกัดวิธีการ ซึ่งจะทำด้วยวิธีใดๆก็ได้ เช่น กินยาขับ ทำแท้งที่คลีนิกเถื่อน เป็นต้น ซึ่งผลกระคือการทำการทำแท้ง ซึ่งหากมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ก็จะมีความผิดตามกฎหมายมาตรานี้ แต่หากอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ก็จะไม่มีความผิดในส่วนนี้        

         ลำดับต่อมา มาตรา 302  ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

          ซึ่งสำหรับความผิดตามมาตรา 302 นี้จะใช้สำหรับผู้ที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์นั้นแท้งลูก โดยที่หญิงที่ตั้งท้องนั้นยินยอมให้กระทำ เช่น พวกหมอเถื่อน เป็นต้น โดยมาตรานี้มีความผิดด้วยกัน 3 ระดับก็คือ วรรคหนึ่งคือทำแท้งสำเร็จโดยไม่ได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย ส่วนวรรคสองคือกรณีหญิงตั้งครรภ์ได้รับอันตรายสาหัส ส่วนวรรคสามนั้นหญิงที่ตั้งท้องถึงแก่ความตาย ซึ่งอัตราโทษก็จะแตกต่างกันตามความร้ายแรงของผลที่เกิดขึ้น

          มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

          ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

          ส่วนมาตรา 303 นี้จะมีลักษณะคล้ายกับมาตรา 302 ทุกประการ แต่ต่างกันตรงที่หญิงที่ตั้งครรภ์นั้นยินยอมหรือไม่เท่านั้น หากหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้ยินยอมก็ผิดมาตรา 303 ที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 302 นั้นเอง เช่น มีนายกนก เห็นนางสาวสวยซึ่งกำลังตั้งท้องอยู่เดินผ่านจึงประสงค์จะวิ่งราวทรัพย์ แต่ปรากฎนางสาวสวยจับกระเป๋าได้ทันจึงยื้อแย่งกัน นายกนกจึงลงมือทำร้ายร่างกายนางสาวสวย ผลคือการทำร้ายดังกล่าวส่งผลให้นางสาวสวยแท้งลูก นายกนกจึงมีความผิดตามมาตรา 303 เป็นต้น

            แต่ทั้งนี้ในส่วนต่อมาคือข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่มีความผิดหรือไม่ต้องรับโทษ

            มาตรา 304  ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 วรรคแรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

           ส่วนมาตรา 304 นี้จะเป็นกรณีที่หญิงที่ตั้งครรภ์มีเจตนาจะทำแท้งและบุคคลที่รับจะทำแท้งให้ตามความยินยอมของหญิงตั้งครรภ์ แต่ผลคือการทำแท้งไม่สำเร็จหรือเปลี่ยนใจก่อน กรณีนี้แบบนี้ตามกฎหมายจะถือว่าเป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย

           มาตรา 305  ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด    

            (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น

            (2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง

            (3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ

            (4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์

            (5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

            ตามมาตรา 305 นี้ หากกล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้หญิงที่ท้องกับคนทำแท้งให้เป็นหมอโดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย โดยเป็นจะต้องเป็นกรณีที่ 1. เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจ 2. เสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง 3. เป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายเช่น โดยข่มขืน เป็นต้น 4. อายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ 5. หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากหมอ

 




ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

สำนักงานทนายความ สำนักงานกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้