Last updated: 24 ต.ค. 2567 | 641 จำนวนผู้เข้าชม |
ค่าธรรมเนียมศาล ค่าฤชาธรรมเนียมศาล ค่าขึ้นศาล ในคดีแพ่ง
1. คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ให้คิดค่าขึ้นศาลที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ค่าขึ้นศาลร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์ แต่ไม่เกินสองแสนบาท ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ร้อยละ 0.1 ของทุนทรัพย์
2. คำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประเทศหรือคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประเทศ ทุนทรัพย์ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ค่าขึ้นศาลร้อยละ 0.5 ของจำนวนที่ร้องขอให้ศาลบังคับ แต่ไม่เกินห้าหมื่นบาท ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ร้อยละ 0.1 ของจำนวนที่ร้องขอ
3. คำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ต่างประเทศหรือคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ทุนทรัพย์ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ค่าขึ้นศาลร้อยละ 1 ของจำนวนที่ร้องขอ ให้ศาลบังคับ แต่ไม่เกินห้าหมื่นบาท ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไป ร้อยละ 0.1 ของจำนวนที่ร้องขอ
4. คำฟ้องขอให้บังคับจำนองหรือบังคับเอาทรัพย์สินจำนองหลุด ทุนทรัพย์ไม่เกินห้าสิบล้านบาท ค่าขึ้นศาลร้อยละ 1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้องแต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ส่วนที่เกินห้าสิบล้านบาทขึ้นไปร้อยละ 0.1 ของจำนวนหนี้ที่เรียกร้อง
5. คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ คดีทั่วไปรวมทั้งคดีไม่มีข้อพิพาท เรื่องละ 200 บาท และหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งตาม มาตรา 227 หรือ มาตรา 228 (2) และ (3) เรื่องละ 200 บาท แต่การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่ง ตามมาตรา 228(1) ไม่เรียกเก็บค่าขึ้นศาล
6. คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาล ตามอัตราในข้อ 1. แต่ไม่ให้น้อย กว่า 200 บาท
7. คดีที่ขอให้ชำระค่าเสียหาย ค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือค่าเลี้ยงชีพก็ดี เงินปี เงินเดือน เงินเบี้ยบำนาญ ค่าบำรุงรักษาหรือเงินอื่น ๆ ก็ดี บรรดา ที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาใน อนาคตนอกจาก ดอกเบี้ย ค่าเช่า หรือ ค่าเสียหายที่ศาลมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งตามมาตรา 142 อยู่แล้ว ถ้าคดีนั้นมี คำขอให้ชำระหนี้ในเวลาปัจจุบัน หรือ มีคำขอในข้อก่อน ๆ รวมอยู่ด้วยให้คิด ค่าขึ้นศาลสำหรับคำขอในข้อนี้เป็นอีก ส่วนหนึ่ง (ค่าขึ้นศาลในอนาคต) ค่าธรรมเนียมศาล 100 บาท
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
ทนาย ทนายความ สำนักงานกฎหมาย
สำนักงานทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย
14 มี.ค. 2567
5 ธ.ค. 2566