หลอกคนไปทำงานต่างประเทศ ผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชน

Last updated: 24 พ.ย. 2566  |  601 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลอกคนไปทำงานต่างประเทศ ผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชน

                     หลอกพาคนไปทำงานต่างประเทศ ผิดข้อหาฉ้อโกงประชาชน

                     การที่รับคนไปทำงานต่างประเทศนั้น สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอาชีพหรือตำแหน่งงานใดก็ตาม โดยหากเป็นบุคคลหรือบริษัทที่เป็นเอเจ้นซี่ที่หลอกหลวงก็จะมีการเรียกเก็บเงินก่อน และโกงเงินดังกล่าวไป โดยที่ไม่ได้มีการพาไปทำงานต่างประเทศจริงๆ หรือในบางกรณีก็ถึงขั้นหลอกให้เดินทางไปถึงประเทศปลายทางแต่ก็ไม่ได้มีการประสานงานกับผู้ว่าจ้างของประเทศนั้นๆแต่อย่างใด และหลอกเงินด้วยอีกประการหนึ่ง ซึ่งการกระทำในรูปแบบนี้ล้วนเป็นการฉ้อโกงด้วยกันทั้งสิ้น และส่วนใหญ่แล้วบุคคลหรือบริษัทดังกล่าวจะไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานรัฐในการจัดหางานด้วยอีกประการหนึ่ง ผู้เสียหายสามารถที่จะนำหลักฐานการถูกหลอกลวงดังกล่าวไปแจ้งความในสถานีตำรวจพื้นที่ที่มีการจ่ายเงินไปได้ ในข้อหาฉ้อโกงหรือฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 และ 343 ซึ่งบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้

                       มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                       มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                       ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา ๓๔๒ อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

                       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2542 จำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางาน ไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อีกทั้งจำเลยกับพวกไม่สามารถที่จะส่งผู้ใดไปทำงานในต่างประเทศ ดังกล่าวได้ และทั้งไม่มีงานรออยู่ที่ประเทศดังกล่าวตามที่แจ้งแก่ ผู้เสียหายทั้งเจ็ด อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่า จำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายคงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 การที่จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนและผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานให้แก่คนหางานทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหาย ทั้งเจ็ดและส่งคนหางานทั่วไปและผู้เสียหายทั้งเจ็ดไปทำงานที่ ไต้หวัน และเกาหลีได้โดยผู้ที่จะไปทำงานที่เกาหลีต้องเสียเงินค่าบริการจัดการให้แก่จำเลยกับพวกคนละ 80,000 บาท และผู้เสียหายทั้งเจ็ดได้มอบเงินคนละ 80,000 บาท ให้แก่จำเลยกับพวกไปก็เพราะผู้เสียหายทั้งเจ็ดเชื่อตาม ที่จำเลยกับพวกหลอกลวงนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯมาตรา 91 ตรี และเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก

 

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้