Last updated: 26 ก.ค. 2566 | 1339 จำนวนผู้เข้าชม |
บุตรนอกสมรส มีสิทธิรับมรดกของบิดามารดาได้หรือไม่
บุตรนอกสมรส คือบุตรที่เกิดขึ้นโดยบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หรือบิดาไม่ได้มีการขอรับรองบุตรในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส โดยที่ไม่ได้ขอรับรองบุตรต่อศาลหรือขอรับรองบุตรในกรณีที่บุตรมีอายุเพียงพอที่จะให้ความยินยอมได้ และแม่ของลูกให้ความยินยอมด้วย ก็จะถือเป็นบุตรนอกสมรส ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องการรับมรดกมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้
มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม ให้ถือว่า เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายนี้
โดยเมื่อลูกเกิดขึ้นไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม ลูกจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่อยู่แล้ว ดังนั้นลูกจึงมีสิทธิได้รับมรดกของแม่ แต่ส่วนของพ่อนั้นจะถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อพ่อแม่จดทะเบียนสมรส หรือพ่อรับรองบุตรตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว แต่หากไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสกันระหว่างพ่อกับแม่หรือไม่ได้รับรองบุตรตามกฎหมาย หากพ่อเสียชีวิต ลูกก็มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุตรได้ พร้อมกับแสดงหลักฐานถึงพฤติการณ์ที่บิดารับรองแล้ว เพื่อรับมรดกของบิดาต่อไป โดยพฤติการณ์ที่บิดารับรองได้แก่อะไรบ้าง เช่น บิดาเป็นผู้แจ้งเกิดและบิดายินยอมให้ใส่ชื่อเป็นบิดาในสูติบัตร บิดายินยอมให้ใช้นามสกุล บิดายินยอมให้อยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับบิดา บิดามีการแสดงออกโดยเปิดเผยต่อสาธารณะว่าเป็นพ่อลูกกันจริง และแม้กระทั้งมีผลตรวจดีเอ็นเอของบิดา เป็นต้น หากมีพฤติการณ์ดังที่กล่าวมาในข้างต้น ก็สามารถให้ทนายความทำคำร้องยื่นต่อศาลได้เลย
หากคุณกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการรับมรดกของพ่อเมื่อพ่อเสียชีวิตและคุณเป็นบุตรนอกสมรสหรือกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการขอเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย สามารถติดต่อสำนักงานกฎหมายของเราเพื่อช่วยเหลือแก่คุณได้ โดยสำนักงานทนายความของเรายินดีและพร้อมจะช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่ โดยติดต่อทางช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยครับ
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น
27 ก.พ. 2567
4 มี.ค. 2567
27 ก.พ. 2567
14 มี.ค. 2567