ถูกเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับเงินอะไรบ้าง และทำอย่างไร

Last updated: 27 พ.ค. 2566  |  492 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ถูกเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับเงินอะไรบ้าง และทำอย่างไร

              ถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอะไรบ้าง หรือถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องทำอย่างไร

              การถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างให้ออกจากงานโดยที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งเมื่อนายจ้างมีการปลดออกจากงาน หรือลูกจ้างโดนไล่ออก ลูกจ้างมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ ส่วนหากนายจ้างเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควร เช่น ดำเนินกิจการขาดทุน ต้องปลดพนักงานออก ลูกจ้างกระทำความผิด เตือนแล้วหลายครั้ง หรือลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้างอย่างร้ายแรง ลูกจ้างมีปัญหาสุขภาพ ป่วยนานส่งผลต่อการทำงาน นายจ้างถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ ลูกจ้างกระทำความผิดทางอาญาต่อลูกค้าของนายจ้าง เป็นต้น ซึ่งกรณีเช่นนี้ ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ นอกจากนี้ในส่วนการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น หากสุดท้ายแล้วการเลิกจ้างดังกล่าวพิสูจน์แล้วว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หากลูกจ้างร้องเรียนหรือดำเนินการฟ้องเอง จนคดีขึ้นสู่ศาล ศาลอาจมีคำพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าไปทำงานในตำแหน่งเดิมได้ หรือหากไม่สามารถทำงานต่อได้ ก็เลือกที่จะรับเงินค่าเสียหายได้

             กรณีที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแล้ว ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายด้วย โดยค่าชดเชยจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ดังต่อนี้

             ·  ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับเงินชดเชย 30 วัน

             ·  ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับเงินชดเชย 90 วัน

             ·  ทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับเงินชดเชย 180 วัน

             ·  ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับเงินชดเชย 240 วัน

             ·  ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 300 วัน

             เงินชดเชยดังกล่าวจะคิดจากอัตราค่าจ้างล่าสุดของลูกจ้าง

             นอกจากค่าเสียหายจาการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย แล้วหากนายจ้างหรือบริษัทผู้ว่าจ้าง ไม่ได้แจ้งให้ออกจากงานล่วงหน้าตามที่กำหนดในสัญญาว่าจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่คือ ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อน 1 เดือน หรือหากในสัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ก็ให้ใช้การบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อน 1 เดือน หากไม่ได้มีการแจ้งล่วงหน้า นายจ้างหรือบริษัทผู้ว่าจ้างต้องชำระเงินค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นอัตราค่าจ้างสุดท้ายหรืออัตราค่าจ้างล่าสุดของลูกจ้างเป็นจำนวน 1 เดือนด้วย

              โดยเมื่อถึงกำหนดวันสุดท้ายของการทำงาน ผู้ว่าจ้างหรือบริษัทผู้ว่าจ้างจะต้องชำระเงินชดเชย เงินค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (แล้วแต่จะตกลงกัน) หากภายในวันสุดท้ายของการทำงานลูกจ้างไม่ได้รับเงินดังกล่าว ลูกจ้างมีสิทธิร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือพนักงานตรวจแรงงาน หรือจะดำเนินการว่าจ้างทนายทำเรื่องฟ้องเองต่อศาลแรงงานก็สามารถทำได้ ( หมายเหตุ...การร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือพนักงานตรวจแรงงาน เฉพาะในส่วนเงินชดเชยหรือค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่านั้น ส่วนค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องดำเนินการฟ้องต่อศาลแรงงานโดยตรง )

              แต่กรณีดังต่อไปนี้ หากลูกจ้างมีพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องชำระเงินใดๆให้แก่ลูกจ้าง ยกเว้นค่าจ้างที่ยังค้างชำระ

              · ถูกไล่ออกเนื่องจากมีความผิด ซึ่งได้มีจดหมายตักเตือนแล้ว (หากร้ายแรงไม่จำเป็นต้องตักเตือน)

              · ทิ้งงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุจำเป็น

              · พนักงานเป็นฝ่ายลาออกเอง

              · ทุจริตต่อหน้าที่

              · ทำผิดกฎหมายอาญา

              · จงใจทำให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้างหรือบริษัท

              · ลูกจ้างได้รับโทษจำคุก

              · ยกเลิกจ้างตามสัญญาที่กำหนดระยะเวลาแน่นอน

                   

             หากต้องการให้สำนักงกฎหมายของเราดำเนินการทำเรื่องฟ้องให้แก่คุณ เพื่อให้สำนักงานทนายความของเราดูแลคดีของคุณโดยทำเรื่องฟ้องต่อศาลแรงงานโดยตรง สามารถติดต่อช่องทางด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

 


ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้