Last updated: 6 เม.ย 2566 | 1411 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำคำร้องทุกข์ไปแจ้งความดีอย่างไร
ปัญหาสำคัญในปัจจุบันเวลาจะไปแจ้งความดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิด คือการที่ตำรวจไม่ยอมรับแจ้งความ หรือรับแจ้งแต่เพียงลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานให้เท่านั้น ซึ่งการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ไม่ใช่การแจ้งความเพื่อดำเนินคดีและตำรวจไม่สามารถดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวนในฐานความผิดได้ และยังมีผลต่อเรื่องอายุความด้วย เช่น หากคดีของคุณ เป็นคดีที่อายุความ 3 เดือนในการแจ้งความ อาทิเช่น คดีหมิ่นประมาท คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีทำให้เสียทรัพย์ คดีโกงเจ้าหนี้ เป็นต้น แล้วปรากฎว่าตำรวจลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานให้เท่านั้น หากเลยกำหนด 3 เดือนแล้ว จะมาแจ้งความใหม่ ย่อมไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะคดีของคุณได้ขาดอายุความไปแล้ว โดยจะทำให้เกิดความเสียหายต่อคุณเป็นอย่างมาก ซึ่งการแจ้งความต้องเป็นรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เท่านั้น
แล้วคดีอะไรบ้างที่ส่วนใหญ่ตำรวจไม่ค่อยจะรับแจ้งความ โดยส่วนใหญ่หากคดีของคุณมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก อธิบายเป็นคำพูดก็เข้าใจได้ยาก หรือแม้จะปริ้นหลักฐานมาแล้วมากมายก็เป็นการยากที่จะเข้าใจเรื่องราวทั้งหมด หรือต้องใช้เวลานานที่จะเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดได้ หรือเป็นคดีที่มีความผิดเล็กน้อย เช่นคดีหมิ่นประมาท ตำรวจมักจะไม่ค่อยรับแจ้งความ หรืออาจรับแจ้งความแต่เนื้อหาสำคัญของคดีอาจตกหล่นได้ ซึ่งจะส่งผลให้ปลายทางเมื่อคดีของคุณไปถึงอัยการ อาจถูกสั่งไม่ฟ้องได้ หรือเมื่อคดีของคุณถึงศาล ศาลก็อาจจะพิพากษายกฟ้องได้ ดังนั้นการทำคำร้องทุกข์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นขั้นตอนต้นทางในการดำเนินคดีและข้อดีของการทำคำร้องทุกข์ แล้วนำไปยื่นกับตำรวจนั้น ก็จะช่วยให้ตำรวจเข้าใจเรื่องราวทั้งหมด เน้นจุดที่กระทำความผิดโดยตรง และไม่ตกหล่นประเด็นสำคัญของคดี เมื่อตำรวจเข้าใจเรื่องราวที่ถูกจัดสรรเป็นให้เข้าใจได้ง่ายแล้ว ใช้เวลาไม่นานในการอ่านและทำความเข้าใจ ประกอบกับข้อกฎหมายที่สอดคล้องกันกับการกระทำความผิด ง่ายต่อการทำสำนวนคดี ก็มีแนวโน้มสูงที่ตำรวจจะรับแจ้งความ และดำเนินคดีไปตามความประสงค์ของผู้แจ้งความมากยิ่งขึ้น
โดยคำร้องทุกข์นั้นจะเป็นการเล่าเรื่องราวเป็นลำดับเหตุการณ์ เหตุเกิดเมื่อไหร่ ใครทำอะไร ที่ไหนอย่างไร พร้อมประกอบกับข้อกฎหมาย และแนบด้วยพยานหลักฐานที่เป็นเอกสาร และลงลายมือชื่อของผู้เสียหายในคำร้องทุกข์และเอกสารหลักฐาน ซึ่งคำร้องทุกข์สามารถจะทำขึ้นเองได้ แต่เนื่องจากเป็นการเรียบเรียงข้อเท็จจริงของคดี และมีข้อกฎหมายที่ต้องใช้ประกอบกับข้อเท็จจริง และต้องเรียบเรียงหลักฐานให้เป็นระบบ หากดำเนินการทำคำร้องทุกข์ด้วยตนเองอาจทำผิดพลาดและเกิดความเสียหายแก่รูปคดีได้ จึงควรที่จะให้ทนายความหรือสำนักงานทนายความหรือสำนักงานกฎหมาย ดำเนินการร่างคำร้องทุกข์ให้ หากคุณให้ทนายความหรือสำนักงานทนายความหรือสำนักงานกฎหมาย ดำเนินการร่างคำร้องทุกข์ให้ คุณเพียงแต่เซ็นชื่อในคำร้องทุกข์เท่านั้นและสามารถนำไปใช้ในการแจ้งความกับพนักงานสอบสวนได้ทันที สำหรับสำนักงานของเรามีบริการร่างคำร้องทุกข์ ในราคาเริ่มต้นที่ 3,000 บาท ซึ่งราคาค่าร่างคำร้องทุกข์ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ใช้ระยะเวลาในการร่างคำร้องทุกข์ 3 วัน – 2 สัปดาห์ หากคุณต้องการให้ทางสำนักงานของเราดำเนินการร่างคำร้องทุกข์ให้ สามารถติดต่อได้ทางช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ค่ะ
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
แฟนเพจสำนักงานกฎหมาย : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น