Last updated: 6 ส.ค. 2565 | 46618 จำนวนผู้เข้าชม |
การที่จะดำเนินคดีให้ผู้อื่นได้รับโทษในคดีอาญาได้นั้น ก็ต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์การกระทำความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา การที่ไปกล่าวหาไม่ว่าจะด้วยการ แจ้งความเพื่อดำเนินคดีให้ถึงที่สุดโดยโกหกเจ้าพนักงานหรือทำเรื่องฟ้องผู้อื่นด้วยตนเอง ทั้งที่เขาไม่ได้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาถือเป็นการแจ้งความเท็จและฟ้องเท็จ ซึ่งล้วนเป็นการกระทำที่มีความผิดตามกฎหมาย ผู้ที่ถูกแจ้งความหรือถูกฟ้องสามารถดำเนินคดีกลับได้ทันที โดยเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท ส่วนความผิดฐานฟ้องเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา 173 “ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่าได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท”
มาตรา 175 ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ 6430/2560 พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกทำให้โจทก์เข้าใจว่าจำเลยกับพวกร่วมกันเบียดบังเอาเงินผลผลิตปาล์มน้ำมันไปเป็นของตนโดยทุจริต การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันยักยอกเงินผลผลิตปาล์มน้ำมัน จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลกล่าวหาจำเลยไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์เอาความอันเป็นเท็จแล้วมาแกล้งกล่าวหาจำเลยไม่
ตามกฎหมายแล้วการที่แจ้งความเท็จ เพื่อจะดำเนินคดีกับผู้อื่นหรือฟ้องผู้อื่นทั้งที่เขาไม่ได้กระทำความผิด ผู้แจ้งหรือฟ้องนั้นมีความผิด ซึ่งอัตราโทษที่กระทำการดังกล่าว มีอัตราโทษที่สูง จึงไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง ก่อนที่จะกระทำการใดๆในทางกฎหมายจึงควรปรึกษากับทนายความเสียก่อนว่าสามารถกระทำได้หรือไม่อย่างไร เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
รับว่าความทุกคดี ทั่วราชอาณาจักรไทย
Facebook Fan Page :: ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
เปิดทำการ :: วันจันทร์ – วันเสาร์
เวลาทำการ :: 09:00 - 18:00 น.
เบอร์ติดต่อ (โทรเวลาทำการ) :: 095-453-4145