12097 จำนวนผู้เข้าชม |
การสั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกัน มีการสั่งจ่ายเช็คในลักษณะดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีลูกความเข้ามาปรึกษาทนายนิธิพล และให้ทำเรื่องสู้คดีเป็นจำนวน ดังนั้นบทความนี้ ทนายจะมาอธิบายหลักการของเรื่องการออกเช็คค้ำประกันเพื่อเป็นแนวทางในการสู้คดีอาญา โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
สำหรับกรณีที่มีการสั่งจ่ายเช็ค เพื่อค้ำประกัน ไม่ว่าจะเป็นการประกันหนี้ ประกันการซื้อขาย หรืออื่นๆ (การค้ำประกันคือ ไม่ได้ตกลงที่ให้นำเอาเช็คดังกล่าวไปขึ้นเงินกันจริงๆ เป็นการออกเช็คไว้เป็นการรับประกันเท่านั้น โดยมีการตกลงจ่ายชำระเงินกันตามปกติ) ซึ่งหากคู่กรณีนำเช็คที่ท่านได้สั่งจ่ายเพื่อประกันการชำระหนี้ ไปขึ้นเงินแล้วปรากฎว่าเช็คดังกล่าวนั้นเด้ง ท่านก็จะไม่มีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่อย่างใด แต่การที่ทนายแจ้งว่าไม่มีความผิดทางอาญานี้ หากคู่กรณีนำเช็คดังกล่าวไปแจ้งความ ย่อมเป็นไปขั้นตอนของกฎหมาย โดยท่านยังต้องนำเอาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเสนอต่อศาลเพื่อสู้คดี ว่าเป็นการสั่งจ่ายเช็คเพื่อค้ำประกันเท่านั้น เพื่อให้ศาลยกฟ้อง เพื่อจะทำให้ท่านนั้นไม่มีความผิดแต่อย่างใด
แต่หากเป็นกรณีที่มีการสั่งจ่ายเช็คโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเช็คดังกล่าวนั้นไปขึ้นเงิน อย่างเช่น เพื่อชำระราคาค่าสินค้า เพื่อชำระหนี้ต่างๆ แล้วปรากฎว่าเช็คเด็ง เนื่องจากเงินในบัญชีไม่เพียงพอ หรือท่านสั่งให้ระงับการจ่ายเช็คดังกล่าวไว้แก่ธนาคาร ผู้ที่ถือเช็คดังกล่าวนั้น ย่อมสามารถที่จะดำเนินคดีกับท่านได้ตามกฎหมาย
ซึ่งตามตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 มีข้อกำหนดดังนี้
มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
(2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
(3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
(4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
(5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
ซึ่งจากกฎหมายดังกล่าวนี้ หากเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ผู้สั่งจ่ายเช็คย่อมมีความผิดตามกฎหมาย คือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ ต่อการสั่งจ่ายเช็ค 1 ฉบับ
ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
รับว่าความทุกคดี ทั่วราชอาณาจักรไทย
Facebook Fan Page :: ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
เปิดทำการ :: วันจันทร์ – วันเสาร์
เวลาทำการ :: 09:00 - 18:00 น.
เบอร์ติดต่อ (โทรเวลาทำการ) :: 095-453-4145