Last updated: 26 ต.ค. 2564 | 9787 จำนวนผู้เข้าชม |
บุคคลใดมีโดรนไว้ในการครอบครอง จะต้องลงทะเบียนโดรนและขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรน ได้ที่
1. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
2. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
ลักษณะของโดรนที่ต้องขึ้นทะเบียน มีดังนี้
1.โดนที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม และไม่มีกล้องบันทึกภาพ ( ไม่ต้องขึ้นทะเบียน )
2.โดรนที่ไม่ติดตั้งกล้อง แต่มีน้ำหนัก 2 กิโลกรัมขึ้นไป ( ต้องลงทะเบียน )
3.โดรนที่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ ( ต้องลงทะเบียน )
4.โดรนที่มีน้ำหนัก 25 กิโลกรัมขึ้นไป จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
หากมีการฝ่าฝืนไม่ลงทะเบียนโดรน จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้เครื่องวิทยุ คมนาคมบางลักษณะหรือเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการบางประเภทได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับ ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือเฉพาะแต่บางกรณีได้
มาตรา 23 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 11 หรือมาตรา 16 มีความผิดต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
และกรณีผู้ที่นำโดรนขึ้นบินและก็ไม่ได้มีใบอนุญาตในการนำโดรนขึ้นบิน ก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติ การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ด้วยเป็นอีกฐานความผิดหนึ่ง ซึ่งมีโทษสูงสุด จำคุก 1 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท
มาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ใดบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินหรือทิ้งร่มอากาศ นอกจากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนด
มาตรา 78 ผู้ใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษจําคุกไม่ เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน หรือทิ้งร่มอากาศโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากรัฐมนตรีตามมาตรา 24
ข้อห้ามในการบินโดรน มีเงือนไขดังต่อไปนี้
1) ก่อนทําการบิน
(ก) ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทําการบินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน
(ข) ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ที่จะทําการบิน
(ค) ทําการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทําการบิน
(ง) มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสําหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และการแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได้
(2) ระหว่างทําการบิน
(ก) ห้ามทําการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น
(ข) ห้ามทําการบินเข้าไปในบริเวณเขตห้าม เขตจํากัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
(ค) แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
(ง) ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทําการบินและห้ามทําการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
(จ) ต้องทําการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน
(ฉ) ห้ามทําการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ
(ช) ห้ามทําการบินภายในระยะเก้ากิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
(ซ) ห้ามทําการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร ( 300 ฟุต) เหนือพื้นดิน
(ฌ) ห้ามทําการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
(ญ) ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
(ฎ) ห้ามทําการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
(ฏ) ห้ามทําการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรําคาญ แก่ผู้อื่น
(ฐ) ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน
(ฑ) ห้ามทําการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่า 30 เมตร (100 ฟุต)
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145
9 ส.ค. 2567
21 ส.ค. 2567
30 ก.ค. 2567