เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่งจะไปศาล ต้องปฎิบัติอย่างไรบ้าง - ทนายนิธิพล

Last updated: 20 ส.ค. 2563  |  28166 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่งจะไปศาล ต้องปฎิบัติอย่างไรบ้าง - ทนายนิธิพล

                      ในกรณีที่โดนฟ้องในคดีแพ่ง เช่น ฟ้องคดีบัตรเครดิต , ฟ้องคดีเช่าซื้อรถยนต์ , ฟ้องคดีกู้ยืมเงิน , ฟ้องคดีหย่า , ฟ้องคดีชู้ , ฟ้องคดีแชร์ , ละเมิด ฯลฯ 

                     1.   เมื่อได้รับหมายศาล แจ้งว่าถูกฟ้องคดี สามารถตรวจสอบดูได้เลยว่า ในหัวกระดาษ จะมีการเขียนแจ้งไว้ว่า โดนฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือคดีอาญา และฟ้องที่ศาลไหน หมายเลขคดีดำอะไร วันที่ศาลนัดเมื่อไหร่ จะระบุไว้ในหมายชัดเจนที่แผ่นแรกของหมายเรียกและคำฟ้อง    

                     2.  ต้องดูว่าที่ได้รับหมายมานั้นเป็นคดีอะไร เช่น คดีแพ่งสามัญ , คดีผู้บริโภค , หรือคดีมโนสาเร่  และรีบให้ทนายทำคำให้การสู้คดีโดยด่วน เพราะในการที่จะสู้คดีมีระยะเวลาในการยื่นคำให้การกำหนดไว้ชัดเจน เช่น  

                                 2.1       หากเป็นคดีมโนส่าเร่  (ตัวย่อ ม.) คดีไม่มีข้อยุ่งยาก (ตัวย่อ มย.) หรือคดีผู้บริโภค (ตัวย่อ ผบ.) จะสามารถยื่นคำให้การสู้คดีภายในนัดแรกที่ศาลนัด

                                 2.2      ในคดีแพ่งสามัญ (ตัวย่อ พ.) ในการยื่นคำให้การนั้น หากตัวจำเลยเซ็นรับหมายเรียกหรือมีผู้รับหมายแทน จะต้องรีบหาทนายความทำคำให้การยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับจากวันที่รับหมาย  หรือหากเจ้าพนักงานศาลได้ทำการปิดหมาย คือกรณีไม่มีคนเซ็นรับเจ้าพนักงานศาลจะมีการปิดหมายไว้ที่บ้านจำเลย ในกรณีนี้ จำเลยจะมีระยะเวลาในการยื่นคำให้การ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ปิดหมาย

                   3.  ถ้าในวันที่ศาลนนัดแล้ว เกิดหาทนายความไม่ทัน ควรที่จะไปศาลตามที่ศาลนัด และแจ้งต่อศาล ขอเลื่อนคดี ว่ากำลังหาทนายความ เพราะหากจะสู้คดี แล้วไม่ไปในวันที่ศาลนัด และเงียบหายไปเลย ศาลจะพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวได้  และทำให้แพ้คดี

                  4.  หากไม่ประสงค์ที่จะต่อสู้คดี แต่ต้องการไปเจรจาในวันนัดเจรจาของศาล ก็ไปตามวันและเวลานัดที่ระบุในหมายเรียก และแจ้งเลขคดี ที่อยู่มุมขวาบนของหมายเรียกกับประชาสัมพันธ์ของศาล ว่าให้ไปที่ห้องพิจารณาใด เมื่อไปถึงก็นั่งรอ เพื่อรอเจรจากับคู่กรณีต่อไป ( อย่าหลงเชื่อทนายของคู่กรณี ที่บอก “เสร็จแล้วกลับบ้านได้” ต้องสอบถามกับศาลโดยตรงเท่านั้น ว่าสามารถกลับบ้านได้แล้วหรือไม่ )

                   5.  ในชั้นศาล ศาลจะเปิดโอกาศให้ทั้งสองฝ่ายเจรจาไกล่เกลี่ยกันก่อน ก่อนที่ศาลจะสืบพยาน เพราะหากทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยสามารถไกล่เกลี่ยกันได้ระยะเวลาก็จะเสร็จเร็ว และสามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในชั้นศาลไว้ได้ แต่หากไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้ศาลจะดำเนินการสืบพยาน และพิพากษาคดีต่อไป

 

 

 



ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด ์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ติดต่อ ทนายนิธิพล
โทร 086-536-1041 Line:Nitilaw33

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้