Last updated: 26 ต.ค. 2564 | 13477 จำนวนผู้เข้าชม |
ความแตกต่างของสัญญาณจราจรไฟแดงกระพริบกับ สัญญาณจราจรไฟเหลืองกระพริบ
1. สัญญาณจราจรไฟแดงกระพริบ แสดงว่า ผู้ขับรถจะอยู่ทางโทเป็นหลัก และไม่สามารถขับรถไปได้ทันที จะต้องหยุดรถรอว่าปลอดภัยหรือไม่ ถ้าปลอดภัยแล้ว สามารถขับต่อไปได้
2. สัญญาณจราจรไฟเหลืองกระพริบ แสดงว่าผู้ขับรถจะอยู่ทางเอกเป็นหลัก ผู้ขับขี่สามารถขับรถต่อไปได้ แต่ต้องชะลอความเร็ว และเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
( 5 ) สัญญาณจราจรไฟแดงกระพริบ คือ ถ้าติดตั้งอยู่ที่ทางร่วมทางแยกใดเปิดทางด้านใดให้ผู้ขับขี่ที่มาทางด้านนั้นหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
( 6 ) สัญญาณจราจรไฟเหลืองกระพริบ คือ ถ้าติดตั้งอยู่ ณ ที่ใด ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5248/2559
ถนนที่จำเลยขับรถมาเป็นทางเดินรถทางโท มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดงและป้ายเตือนให้หยุด ติดไว้ก่อนเข้าทางร่วมทางแยก จำเลยต้องหยุดรถก่อนถึงทางร่วมทางแยก หลังเส้นให้หยุดรถและให้ผู้ขับรถในทางเอกขับผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้วจึงจะขับรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง ส่วนโจทก์ขับรถมาในทางเอกแม้จะมีสิทธิขับรถผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน แต่ก็ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 70 โดยต้องลดความเร็วของรถ เมื่อขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก สภาพความเสียหายของรถโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างมากอันเกิดจากการชนโดยแรง และตามแผนที่แสดงสถานที่เกิดเหตุ รถยนต์โจทก์อยู่ห่างจากจุดชนประมาณ 35 เมตร แสดงว่าโจทก์ขับรถมาด้วยความเร็วและไม่ได้ชะลอความเร็วของรถ เมื่อเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดเหตุรถชนกันโจทก์จึงมีส่วนประมาทอยู่ด้วย
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-41453
21 ส.ค. 2567
30 ก.ค. 2567
9 ส.ค. 2567