26968 จำนวนผู้เข้าชม |
การกู้ยืมเงิน โดยลูกหนี้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้ไว้เป็นประกันนั้น หากไม่ได้จดทะเบียนจำนองตามกฎหมาย ในทางกฎหมายนั้นไม่ถือว่าที่ดินเป็นหลักประกัน เจ้าหนี้จะไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินและอาจไม่ได้รับชำระหนี้ ซึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 714 สัญญาจำนองนั้น ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถึงจะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
· ผลของการจดทะเบียนจำนอง คือ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ก็สามารถบังคับจำนองทรัพย์ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ได้ และหากมีเจ้าหนี้อื่นจะนำทรัพย์ที่จดจำนองขายทอดตลาด เจ้าหนี้จำนองจะได้รับชำระหนี้ก่อน เจ้าหนี้รายอื่นๆ
· ผลของการไม่จดทะเบียนจำนอง แต่ได้มีการนำโฉนดมาวางไว้เป็นประกัน คือ สัญญากู้ยืมเงินนั้นจะเป็นเพียงสัญญากู้ยืมเงินธรรมดา ถือว่าไม่มีทรัพย์สินเป็นประกันในการกู้ยืมเงิน เนื่องจาก กรณีนี้ ลูกหนี้อาจนำที่ดินไปขายได้ หรือนำไปจำนองกับบุคคลอื่น และหากลูกหนี้ติดหนี้บุคคลอื่นอยู่และมีการฟ้องร้องคดีต่อศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถนำยึดที่ดินขายทอดตลาดได้ เจ้าหนี้ที่ยึดถือโฉนดไว้อาจไม่ได้รับชำระหนี้ และอีกกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้จะไม่สามารถนำโฉนดที่ดินไปขาย หรือโอนให้กับตนเองได้ หากลูกหนี้ไม่ยินยอม เจ้าหนี้สามารถทำได้เพียงฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้เท่านั้น และหากชนะคดีก็สามารถยึดโฉนดที่ลูกหนี้นำมาวางไว้เป็นประกัน บังคับคดีขายทอดตลาดได้ หากลูกหนี้ยังไม่มีการขายที่ดินให้บุคคลอื่นไปก่อนหน้านี้ แต่ถ้าขายไปแล้วก็ต้องสืบหาทรัพย์สินใหม่ของลูกหนี้ต่อไป
หากคุณต้องการทำเรื่องฟ้องต่อศาล สามารถติดต่อสำนักงานทนายนิธิพล ทางช่องทางการติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยครับ ทางสำนักงานยินดีและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและดูแลคดีของคุณ
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145