อายุความคดีอาญาแจ้งความภายใน 3 เดือน (คดีความผิดต่อส่วนตัว )

Last updated: 26 ต.ค. 2564  |  83307 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อายุความคดีอาญาแจ้งความภายใน 3 เดือน  (คดีความผิดต่อส่วนตัว )

          ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ( คดีความผิดต่อส่วนตัว ) ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

          ความผิดอาญาดังต่อไปนี้ เป็นความผิดอันยอมความได้ ที่ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือน คือ 

ม.272  เอาชื่อหรือยี่ห้อในทางการค้าของผู้อื่นมาใช้

ม.278  กระทำอนาจาร(มิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล, ไม่ได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายไม่เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรือผู้อยู่ในความปกครอง)

ม.284  พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร

ม.209 วรรคแรก  ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ

ม.310 วรรคแรก  หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น

ม.311  หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นโดยประมาท

ม.322  เปิดเผยความลับในจดหมาย  โทรเลข

ม.323  เปิดเผยความลับของผู้อื่นที่รู้มาโดยหน้าที่

ม.324  เปิดเผยความลับในทางอุตสาหกรรมหรือวิทยาศาสตร์

ม.326  หมิ่นประมาทคนเป็น

ม.327  หมิ่นประมาทคนตาย

ม.328  หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา

ม.341  ฉ้อโกงธรรมดา

ม.342  ฉ้อโกงประกอบด้วยเหตุพิเศษ

ม.344  หลอกลวงคนให้ไปทำงาน

ม.345  สั่งซื้ออาหารหรือเข้าอยู่ในโรงแรมโดยไม่มีเงิน

ม.346  ชักจูงให้เด็กเบาปัญญาขายของโดยเสียเปรียบ

ม.347  ฉ้อโกงในเรื่องประกันวินาศภัย

ม.349  ฉ้อโกงเจ้าหนี้จำนำ

ม.350  ฉ้อโกงเจ้าหนี้ธรรมดา

ม.352  ยักยอกทรัพย์ธรรมดา

ม.353  ยักยอกทรัพย์ในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์แทนเขา

ม.354  ยักยอกทรัพย์ในฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำสั่งศาล

ม.355  ยักยอกทรัพย์เก็บตก

ม.358  ทำให้เสียทรัพย์ตามธรรมดา

ม.359  ทำให้เสียทรัพย์ชนิดพิเศษ

ม.362  บุกรุกตามธรรมดา

ม.363  บุกรุกโดยย้ายเครื่องหมายอสังหาริมทรัพย์

ม.364  เข้าไปซ่อนตัวในอาคารคนอื่น

ความผิดอาญาที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ ที่กฎหมายให้เป็นความผิดที่ยอมความกันได้เมื่อผู้เสียหายและผู้ต้องหาเป็นญาติกันตาม ม.71

ม.334   ลักทรัพย์ธรรมดา

ม.335   ลักทรัพย์ประกอบเหตุพิเศษ(เหตุฉกรรจ์)

ม.336 วรรคแรก   วิ่งราวทรัพย์ตามธรรมดา

ม.357   รับของโจร

ม.360   ทำให้เสียทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์เสียหาย

 


ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้