Last updated: 26 ต.ค. 2564 | 70289 จำนวนผู้เข้าชม |
ภรรยาหรือสามีทำร้ายร่างกายกันมีความผิดตามกฎหมายแต่ยอมความได้
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
( วรรคสอง ) ให้ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่ลบล้างความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น หากการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ด้วย ให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้
ซึ่งกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว มาตรา 4 สามารถยอมความได้ภรรยาหรือสามีทำร้ายร่างกาย รวมถึงการที่ภรรยาหรือสามี หากทำร้ายร่างกายกันตามมาตรา 295 กล่าวคือ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในกรณีนี้สามารถยอมความกันได้ ตัวอย่างที่สามารถยอมความกันได้ เช่น เกิดรอยฟกซ้ำ รอยตบ รอยขีดข่วด หรือบาดเจ็บเล็กน้อย
เว้นแต่ในในกรณีการกระทำความผิดในมาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส เช่น เข้ารักษาพยาบาลเกิน 20 วัน ขาหัก แขนหัก สูญเสียอวัยวะ หน้าเสียโฉม แท้งลูก ฯลฯ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ซึ่งในกรณีนี้ไม่สามารถยอมความกันได้
ถ้าหากภรรยาหรือสามีถูกทำร้ายร่างกายควรปฎิบัติดังนี้
1. ถ่ายรูปบาดแผลที่โดนทำร้าย หรือไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการแจ้งความ ตามกฎหมายต่อไป
2. การที่ภรรยาหรือสามีทำร้ายร่างกายสามารถใช้เป็นเหตุแห่งการฟ้องหย่าได้
3. หากกรณีที่เป็นความผิดที่ยอมความกันได้ ต้องเข้าแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ถูกกระทำ
30 ก.ค. 2567
9 ส.ค. 2567
21 ส.ค. 2567