การเรียกค่าสินไหมทดแทนในการเกิดอุบัติเหตุมีหลักเกณฑ์ดังนี้ - ทนายนิธิพล

Last updated: 19 พ.ย. 2567  |  101611 จำนวนผู้เข้าชม  | 

  การเรียกค่าสินไหมทดแทนในการเกิดอุบัติเหตุมีหลักเกณฑ์ดังนี้ - ทนายนิธิพล

            การเรียกค่าสินไหมทดแทนในการเกิดอุบัติเหตุมีหลักเกณฑ์ดังนี้

            พี่ชายหนูเกิดอุบัติเหต มีรถยนต์ ฝ่าไฟแดง มาซน พี่ชายหนู ได้รับอันตรายสาหัส พี่ชายขาหัก ต้องอยู่โรงพยาบาล 1 เดือน และได้หยุดงาน ไม่สามารถไปทำงานได้ตลอดระยะเวลา 3 เดือน  ซึ่งพี่ชายเป็นเสาหลักของครอบครัว  จะเรียกร้องอะไรได้บ้างค่ะ  

             ทนายความตอบ

             ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต  ผู้นั้นกระทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  อันดับแรกพิจารณาก่อนว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายประมาท  ถ้าปรากฏแน่ชัดว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายประมาท ฝ่ายที่ได้รับความเสียหายนั้นท่านจำเป็นที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทน แต่จะเรียกเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมกับการที่พี่ชาย ของท่านได้รับอันตรายสาหัส เกือบถึงแก่ชีวิต

             การเรียกค่าสินไหมทดแทนมีหลักเกณฑ์ดังนี้

             1. ค่ารักษาพยาบาล  สามารถเรียกร้องได้ทั้งหมดที่ทางโรงพยาบาลได้แจ้งค่ารักษา และค่ารักษาที่ทางโรงพยาบาลแจ้งว่าต้องมีการมาตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องดังนั้นจึงเป็นค่ารักษาภายในอนาคตข้างหน้า เช่น ค่ากายภาพบำบัด
             2. ค่าขาดรายได้ จากการทำงาน เช่น ได้เงินเดือนละ 20,000 บาทผู้ที่ทำละเมิดก็ต้องจ่ายทั้งหมด และค่าจ้างคนมาดูแล หรือหากญาติของท่านหยุดงานเพื่อมาดูแลท่านในขณะที่รักษาตัว ก็สามารถเรียกได้เช่นกัน
             3. ค่าเสียหายจากทรัพย์สิน เช่น ค่าซ้อมรถ ฝ่ายที่ทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบทั้งหมดรวมถึงค่าเสื่อมสภาพรถที่ไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ และหากรถของคุณใช้ประโยชน์ในการทำงานในระหว่างเขาซ้อมไม่สามารถนำรถมาใช้งานได้ เช่นท่านนำรถไปใช้ประโยชน์ได้วันละ 500 ก็สามารถเรียกวันละ 500 บาท ได้ ตามระยะเวลาจริงที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
             4. ค่าเสียหายอย่างอื่น เช่น ค่าสูญเสียอวัยวะจำเป็น เช่นขา แขน นิ้วขาด ที่ไม่สามารถกลับมาใช้งานปกติได้ และส่งผลกับในอนาคตในการทำงาน  และรวมถึงค่าเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าเสียเวลา และหากว่าจ้างรถยนต์ให้ไปโรงพยาบาลก็สามารถเรียกได้ทั้งหมด

             5. ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ หากมีประกัน สามารถเรียกให้ประกันจ่ายค่าทดแทนได้ แต่ถ้าหากประกันจ่ายค่าทดแทนไปแล้วแต่ยังไม่เพียงพอกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง สามารถเรียกจากคู่กรณีได้ทั้งหมด

             6. ท่านต้องแจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจ เพื่อที่จะให้ตำรวจช่วยเจรจาเรื่องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น หากตกลงกันไม่ได้ หรือ คู่กรณีไม่ยอมชำระค่าเสียหาย ก็จำเป็นที่จะต้องฟ้องร้องทางคดีแพ่งตามกฎหมายต่อไป

 

ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้