Last updated: 3 มิ.ย. 2566 | 280996 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำอย่างไรเมื่อมีหมายบังคับคดีส่งมาที่บ้าน
เมื่อมีคำพิพากษาของศาล แล้วท่านยังไม่นำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้สามารถร้องขอต่อศาลให้ออกคำบังคับคดีมีคำสั่งให้ท่านชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดในหมายบังคับคดี ต่อมาหากท่านยังไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถสืบทรัพย์สินของท่านได้เพื่อที่จะสามารถบังคับคดีโดยการยึด อายัด ทรัพย์สินของท่านขายทอดตลาดได้
1. เมื่อมีหมายบังคับคดีส่งมาที่บ้านเพื่อทำการยึดทรัพย์ขายทอดตลาด จะต้องทำอย่างไร
กรณีนี้ ให้ท่านรีบติดต่อกับทางกรมบังคับคดีหรือเจ้าหนี้ เพื่อขอเจรจาต่อลองว่าจะนำเงินมาชำระหนี้แทนการยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องสูญเสียทรัพย์สินไป ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่ว่าฝ่ายเจ้าหนี้จะยินยอมให้เจรจาหรือไม่
2. จะสามารถขอให้เจ้าหนี้ลดหนี้หรือขอผ่อนชำระได้หรือไม่นั้น
กรณีนี้เมื่อมีคำพิพากษาแล้วแต่ท่านยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อมีหมายบังคับคดีเพื่อที่จะยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด ดังนั้นจึงเป็นการยาก ที่เจ้าหนี้จะยอมเจรจาลดหนี้ให้ หรือยอมให้ท่านขอแบ่งชำระเป็นงวดๆ ซึ่งในขั้นตอนที่จะสามารขอเจรจาเพื่อให้เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ ส่วนมากจะสามารถขอเจรจาได้ตั้งแต่คดีอยู่ในขบวนการพิจารณาทางศาล แต่ถึงอย่างไรก็สามารถขอเจรจากับเจ้าหนี้ได้ แต่จะลดหนี้ให้หรือไม่หรือให้แบ่งชำระเป็นงวดๆได้หรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับตัวเจ้าหนี้เอง
3 ทรัพย์สินอะไรที่สามารถยึด/ อายัด ได้ มีดังนี้
ทรัพย์สินที่อายัดไม่ได้ เช่น
- ของใช้ส่วนตัวที่นอนหมอนมุ้ง เครื่องครัว ราคารวมไม่เกิน ประเภทละ 20,000 บาท
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพที่ราคารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท หากเกิดสามารถยึดได้
- เงินเบี้ยเลี้ยงชีพ และเงินที่คนอื่นให้เลี้ยงชีพ ไม่เกิน 20,000 บาท/ เดือน หรือตามสำนวนที่เจ้าพนักงานเห็นสมควร
- เงินฌาปณกิจส่งเคราะห์ที่ได้รับจากการตายของบุคคลอื่น หรือตามสำนวนที่เจ้าพนักงานเห็นสมควร
- เงินชดเชยรายได้ของคนทั่วไปจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท
- เงินเดือน เงินสงเคราะห์ ของลูกจ้าง คนงาน ไม่เกิน 20,000 บาท /เดือน
- เงินเดือนบำเหน็จ บำนาญ ของข้าราชการ ลูกจ้างในหน่วยงานราชการ หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานเห็นสมควร
- ทรัพย์ที่โอนไม่ได้ตามกฎหมาย หรืออยู่ในการบังคับคดี เช่น สมบัติแผ่นดิน ที่ดินสปก โฉนดที่อยู่ในเวลาห้ามโอน
- ทรัพย์สินส่วนตัว เช่น หนังสือวงศ์ตระกูล จดหมาย สมุดบัญชี
- รถยนต์ที่ยังติดไฟแนนซ์ไม่สามารถยึดได้
ทรัพย์สินที่สามารถอายึด/อายัดได้
- ทรัพย์สินจำพวกเครื่องประดับ เช่น แหวนเพชร นาฬิกาหรู
- อสังหาริมทรัพย์ บ้านและที่ดิน จะติดจำนองอยู่หรือไม่ก็สามารถยึดได้
- รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้แล้ว ที่ไม่ได้ใช้ในการประกออาชีพ
- ทรัพย์สินที่เป็นการลงทุนของลูกหนี้ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ หรือ กองทุน
- เงินเดือนจากการทำงานของลูกหนี้ที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ แต่ต้องมีรายได้เกินกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ถึงจะยึดได้ อายัดได้ไม่เกิน 30%
- เงินในบัญชีธนาคารหรือเงินปันผล
4 ถ้าเจ้าหนี้มีการยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดได้แล้วลูกหนี้จะต้องทำยังไง
กรณี่ที่มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินได้แล้วนั้นหาก ว่าการขายทอดตลาดในครั้งนี้ หากได้เงินมาไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระส่วนที่เหลือได้ เช่น นาย ก.เป็นหนี้ นาย ข(เจ้าหนี้ ) อยู่ 5,000,000 บาท เจ้าหนี้ได้ยึดบ้านขายทอดตลาด ได้เงินมา 4,500,000 บาท อีก 500,000 บาท นาย ก. ยังคงต้องชำระให้กับนาย ข. อยู่เช่นเดิม
แต่ถ้าหากในการขายทอดตลาดครั้งนี้ได้เงินมาจำนวนมากกว่าจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่ เจ้าหนี้จะต้องคืนส่วนที่เหลือให้กลับลูกหนี้ เช่น นาย ก. ติดหนี้นาย ข. ( เจ้าหนี้) อยู่ 5,000,000 บาท เจ้าหนี้ได้ยึดบ้านขายทอดตลาด ได้เงินมาจำนวน 6,000,000 บาท เงินที่เหลือจากการหักชำระหนี้ จำนวน 1,000,000 บาทจะต้องคืนให้กับ นาย ก
5.หากกรณีการขายทอดตลาดใกล้วันจะเริ่มขายแล้วและท่านไม่สามารถเจรจากับทางผู้กรณีได้
หากท่านไม่สามารถมีเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ทั้งหมดให้กับเจ้าหนี้เพื่อจะไม่ให้เจ้าหนี้ขายทรัพย์สินทอดตลาด ท่านจึงต้องจำเป็นที่จะให้กรมบังคับคดีนำทรัพย์ของท่านออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้เจ้าหนี้ ในกรณีนี้ท่านสามารถจะ หาญาติ เข้าประมูลทรัพย์ที่ถูกขายทอดตลาดได้ ซึ่งการประมูลของการบังคับคดี สามารถทำเรื่องขอกู้เงินจากธนาคารได้ด้วย
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ที่ปรึกษากฎหมายด้านกฎหมาย
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145
9 ส.ค. 2567
21 ส.ค. 2567
30 ก.ค. 2567