Last updated: 27 ต.ค. 2564 | 65941 จำนวนผู้เข้าชม |
การฟ้องเรียกบุตรคืนจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
“พ่อเอาลูกไปจากแม่ โดยที่ผู้เป็นพ่อไม่ยอมคืนลูกให้กับแม่ และไม่ให้ผู้เป็นแม่ได้เจอลูก และขัดขวางข่มขู่ ผู้เป็นแม่จะทำอะไรได้บ้าง”
1.บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ ถ้าได้จดทะเบียนสมรสบิดาย่อมถือว่าเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจปกครองบุตรเช่นกันกับมารดา
2.ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันบิดาได้มีการรับรองบุตรหรือมีคำสั่งของศาลให้เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากไม่มีถือว่าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย เด็กที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว จึงต้องอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาแต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ฝ่ายชายจะยินยอมให้บุตรใช้นามสกุล และทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นบิดาก็ตาม ก็ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
มารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิดังต่อไปนี้
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร คือ สามารถระบุว่าจะให้ลูกอยู่กับใครก็ได้ เช่น อยู่กับบิดามารดาของตน หรืออยู่กับผู้เป็นบิดาของบุตร หรือ ลุง ป้า น้า อา
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น กรณีที่ให้บุตรไปอยู่กับย่าหรือปู่ ถึงแม้ว่าย่าหรือปู่จะไม่ยอมให้บุตรมาอยู่กับมารดา แต่อำนาจปกครองบุตรอยู่ที่มารดาสามารถนำบุตรกลับมาอยู่กับตนได้ โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างไร
พ่อเอาลูกไปจากแม่ โดยที่ผู้เป็นพ่อไม่ยอมคืนลูกให้กับแม่ และไม่ให้ผู้เป็นแม่ได้เจอลูก และขัดขวางข่มขู่ ผู้เป็นแม่จะทำอะไรได้บ้าง คือ
1.เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว ซึ่งเป็นความผิดทางแพ่งจึงไม่สามารถ แจ้งความได้ เพียงแต่ ให้ตำรวจช่วยเป็นสื่อกลางในการเจราไกล่เกลี่ย ๆได้ เพื่อหาข้อยุติความรุนแรง
2.การที่บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกับมารดาทำข้อตกลงกันว่าให้บิดาใช้อำนาจปกครองในวันจันทร์ถึงวันศุกร์และให้มารดาใช้อำนาจปกครองบุตรในวันเสาร์อาทิตย์นั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายให้ตกลงกันเช่นนั้นได้ ต่อมาเมื่อมารดาชอบด้วยกฎหมายประสงค์จะเรียกบุตรคืนจากบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3.ถ้าบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ยอมคืนบุตรให้มารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย มารดาที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลให้เรียกบุตรคืนจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
4.โดยยื่นคำฟ้องต่อศาลที่บิดาของบุตรมีภูมิลำเนาอยู่ หรือที่มูลคดีเกิด คือสถานที่กักขังตัวบุตรไว้
5.เมื่อมารดาชนะคดีแล้ว ไปรับบุตรพร้อมเจ้าหน้าที่บังคดี แต่บุตรไม่ยอมมา เนื่องจากมีความผูกพันกับครอบครัวสามี อย่างนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่สามารถบังคับเด็กได้ เพราะคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ หากต้องการพาบุตรมาต้องขอให้ศาลออกหมายเรียกตัวความและเด็กมาสอบถาม
ทนายนิธิพล สำนักงานกฎหมายนิธิลอว์แอนด์วิน
รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ปรึกษากฎหมายฟรี
ติดต่อ ทนายนิธิพล โทร 095-453-4145
9 ส.ค. 2567
30 ก.ค. 2567
21 ส.ค. 2567