ถูกละเมิดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า ต้องดำเนินการอย่างไร

Last updated: 13 พ.ย. 2567  |  21 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ถูกละเมิดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า ต้องดำเนินการอย่างไร

              การละเมิดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า
              การละเมิดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าเป็นประเด็นทางกฎหมายที่มีความสำคัญในธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ต้องการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายไทยได้ให้ความคุ้มครองสิทธิทางปัญญาทั้งสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าเพื่อสร้างความยุติธรรมและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ หากมีการละเมิด เจ้าของสิทธิสามารถใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายหรือขอความคุ้มครองได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยบทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนและสิทธิของผู้ถือสิทธิในการดำเนินคดีกับการละเมิดดังกล่าว

               กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิบัตร
               ตามกฎหมายการจดสิทธิบัตรจะได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดว่าเจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิต ใช้ จำหน่าย และนำเข้า ซึ่งการละเมิดสิทธิบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าของสิทธิบัตรสามารถฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิด และขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการละเมิดและเรียกค่าเสียหาย รวมถึงถึงมีโทษจำคุกด้วย แต่ตามบทความนี้จะกล่าวถึงในส่วนสำคัญในทางแพ่งเพื่อระงับการละเมิดและเรียกค่าเสียหาย
                การดำเนินคดีด้านสิทธิบัตรต้องมีหลักฐานชัดเจนเพื่อยืนยันว่ามีการละเมิดเกิดขึ้นจริง และหลักฐานที่ใช้ต้องมีการแสดงรายละเอียดของสิทธิบัตรที่ได้รับและการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ถูกละเมิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2550 ถือเป็นแนวทางสำคัญในการพิจารณาว่า การละเมิดสิทธิบัตรต้องมีลักษณะเป็นการกระทำที่แสดงถึงการนำไปใช้หรือจำหน่ายซึ่งเป็นการลอกเลียนของสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครอง

                การละเมิดเครื่องหมายการค้า
                การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าภายใต้ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ให้สิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายในการใช้เครื่องหมายเพื่อการค้าแต่เพียงผู้เดียว การละเมิดเครื่องหมายการค้าจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอื่นใช้เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกันจนก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค ซึ่งเจ้าของเครื่องหมายสามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอให้ระงับการกระทำดังกล่าว รวมถึงเรียกร้องค่าเสียหาย

                ตัวอย่างคำพิพากษาที่น่าสนใจคือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2554 ซึ่งศาลวินิจฉัยว่าการใช้เครื่องหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจทำให้ผู้บริโภคสับสน และส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและผลประโยชน์ทางธุรกิจของเจ้าของเครื่องหมายการค้า

                ขั้นตอนในการฟ้องร้องการละเมิดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า
                ตรวจสอบสิทธิและหลักฐาน: ควรมีการตรวจสอบเอกสารการจดทะเบียนสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า และเก็บหลักฐานการละเมิดอย่างครบถ้วน เช่น ภาพถ่ายสินค้า ใบสั่งซื้อ หรือใบเสร็จรับเงิน
                เตรียมคำฟ้องและคำร้องต่อศาล: ในการฟ้องร้อง คำฟ้องควรมีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าที่ละเมิด และรายละเอียดของการละเมิดที่เกิดขึ้น
                ขอคำสั่งศาลเพื่อระงับการละเมิด: ในกรณีที่การละเมิดยังคงเกิดขึ้น เจ้าของสิทธิสามารถขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจากศาลเพื่อระงับการกระทำดังกล่าวจนกว่าจะมีคำตัดสิน
                เรียกร้องค่าเสียหาย: หากพบว่ามีการละเมิด ศาลอาจกำหนดให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าเสียหายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
                การฟ้องร้องในกรณีการละเมิดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้านั้นมีความซับซ้อน จำเป็นต้องใช้หลักฐานและการพิสูจน์ทางกฎหมายอย่างรอบคอบ ทนายความที่มีความชำนาญเฉพาะทางจะสามารถช่วยให้กระบวนการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงได้อย่างราบรื่น



             ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ

แฟนเพจ FB : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้