การรับบุตรบุญธรรมมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

Last updated: 15 มี.ค. 2566  |  1240 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การรับบุตรบุญธรรมมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

           การรับบุตรบุญธรรม จะมีเงื่อนไขในการจดทะเบียนหลายๆอย่าง อาทิเช่น ผู้จะรับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุเกินกว่า 25 ปี บริบูรณ์ และต้องมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ บุคคลซึ่งเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์หรือญาติของผู้เยาว์ บุคคลที่ไม่เหมาะสมจะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์ หากผู้รับบุตรบุญธรรมหรือบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส คู่สมรสต้องให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมด้วย และการรับบุตรบุญธรรม บิดามารดาของบุตรบุญธรรมจะต้องให้ความยินยอมทั้งสองคน หรือได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง หรือหากเหลือเพียงบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่ง ก็สามารถให้ความยินยอมคนเดียวได้ หากไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของบุตรบุญธรรม หรือบิดามารดาของบุตรบุญธรรม ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ จะต้องทำเรื่องขอบุตรบุญธรรมต่อศาล โดยผู้ที่สิทธิร้องขอให้รับบุตรบุญธรรม ได้จะมีดังนี้ (1) บิดาหรือมารดาของบุตรบุญธรรม (2) ผู้ที่จะขอรับบุตรบุญธรรม (3) พนักงานอัยการ หากศาลอนุญาตหรือมีคำสั่งแล้ว ก็สามารถนำคำสั่งหรือคำพิพากษาไปจดทะเบียนขอบุตรบุญธรรมต่อไป

           เมื่อมีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาแล้วนั้น หากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ความยินยอม ก็รวบรวมเอกสารสำหรับการยื่นขอรับบุตรบุญธรรม และสามารถยื่นขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมประชาสงเคราะห์ หากผู้จะขอรับบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร หรือขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด หากผู้จะรับบุตรบุญธรรมมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด เมื่อยื่นเรื่องแล้ว ทางเจ้าพนักงานอาจให้ดำเนินการทดลองเลี้ยงบุตรบุญธรรมก่อนตามระยะเวลาที่เจ้าพนักงานกำหนดด้วย แต่หากผู้จะรับเป็นบุตรบุญธรรมเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ทวด หรือผู้ปกครองของบุตรบุญธรรม จะไม่ต้องมีการทดลองเลี้ยงบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด สามารถจดทะเบียนขอรับบุตรบุญธรรมได้เลย

          เมื่อจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเรียบร้อยแล้ว บุตรบุญธรรมจะมีสถานะเช่นเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิปกครองบุตรบุญธรรมและมีอำนาจเช่นเดียวกับบิดามารดาที่แท้จริง และหากบุตรบุญธรรมเสียชีวิตก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกทรัพย์สินที่ให้บุตรบุญธรรมคืนได้ แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมจะไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมได้

          หากท่านกำลังมีปัญหาในการดำเนินการทางเอกสารในการขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือบิดามารดาของบุตรบุญธรรม ไม่สามารถให้ความยินยอมในการขอรับบุตรบุญธรรมได้ ที่จำเป็นต้องดำเนินการร้องขอต่อศาล สามารถปรึกษาหรือให้ทางสำนักงานของเราดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือท่านได้ โดยสามารถติดต่อทางช่องทางด้านล่างครับ

 

 



ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

แฟนเพจ : ทนายนิธิพล ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

โทร : 095-453-4145 เวลาติดต่อจันทร์-เสาร์ 10.00น – 18.00น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้